ข่าวปลอม ข่าวลวงและคนไม่เชื่อความจริง นักการตลาดจะทำยังไงดี

  • 2
  •  
  •  
  •  
  •  

ตอนนี้ถ้าติดตามข่าวคราวการทำการตลาดใน Digital นั้นจะเจอเรื่องหนึ่งที่กลายมาเป็นปัญหาสำคัญและกลายเป้นส่วนที่มีผลต่อความคิดผู้บริโภคอย่างมาก นั้นคือการเกิดกระบวนการสร้างข่าวลือหรือข่าวปลอมเข้ามาในหน้า Feed ของ Social Network และ Google Search ซึ่งปัญหานี้ร้ายแรงมากจนสร้างผลเสียมากมายให้สังคมและองค์กรต่าง ๆ อย่างมาก แบรนด์จะเตรียมตัวและรับมืออย่างไรดี

20161118_fake_news

ทุกคนนั้นน่าจะเห็นพฤติกรรมอย่างหนึ่งในตอนนี้อย่างมาก คือการแชร์ข่าวที่ตัวสนใจหรือข่าวที่ตัวเองเกี่ยวข้องอย่างมาก พร้อมแสดงความคิดเห็น โดยที่คนที่แชร์นั้นบางคนยังไม่ทันได้เข้าไปอ่านเนื้อข่าวเลยและทำให้ข่าวนั้นแพร่กระจายออกไป ซึ่งในความจริงแล้วข่าวที่มานั้นอาจจะมาจากเว็บข่าวที่ไม่ได้มีตัวตนและปั้นข่าวขึ้นมาจากการที่ต้องการสร้าง Traffic เพื่อไปปั่นยอดโฆษณา หรือกระจาย Malware ให้กับคนที่ชอบกดเข้าไปอ่านข่าวพวกนี้ นอกจากการแชร์ข่าวปลอมพวกนี้โดยรู้เท่าไม่ถึงการแล้วนั้น อีกพฤติกรรมหนึ่งที่เกิดขึ้นคือ ผู้บริโภคไม่เชื่อความจริงที่เกิดขึ้นมา หรือที่เรียกว่า Post-Truth คือด้วยความอคติของผู้บริโภคเองนั้นทำให้เลือกเชื่อความเชื่อที่หรือความจริงที่ตัวเองอยากจะเชื่อเท่านั้น ทำให้เมื่อมีข้อเท็จจริงมาตีแผ่ก็จะทำไม่สนใจ และยังจะเชื่อในข่าวที่ตรงกับความคิดตัวเองเท่านั้น  ทั้งนี้สิ่งที่เลวร้ายไปกว่านั้นคือปัญหาที่เกิดขึ้นกับวงการสื่อในประเทศไทยเองที่ไม่มีการตรวจสอบที่มาของข่าวต่าง ๆ และต้องการวิธีการอะไรก็ได้ที่จะทำให้คนนั้นเข้ามาอ่านข่าวให้มากขึ้น ทำให้ต้องทำข่าวที่เป็นดราม่าและข่าวที่พาดหัวข่าวแรง ๆ ออกมา ซึ่งแน่นอนข่าวปลอมเหล่านี้พาดหัวข่าวแรงและมีดราม่าออกมา ทำให้วงการสื่อที่เป็นสำนักข่าวจริง ๆ นั้นเอาข่าวเหล่านี้ไปกระจายต่อเพื่อสร้างกระแสให้กับเว็บข่าวของตัวเอง หรือเลวร้ายกว่านั้นก็เอาข่าวที่ไม่มีที่มาที่ไปมาสร้างเป็นเนื้อข่าวเลย

m

ปัญหาเหล่านี้สร้างผลร้ายให้กับอุตสาหกรรมออนไลน์อย่างมาก เพราะข่าวที่ออกมามีผลเชิงลบต่อสังคมอย่างมาก เพราะหลาย ๆ ข่าวสร้างความเข้าใจผิดให้กับบุคคลต่าง ๆ หรือสร้างความเข้าใจในสังคม เช่นเหตุการณ์นั้นไม่ได้เกิดขึ้นในประเทศไทย แล้วมาบอกว่าเป็นประเทศไทย หรือการบอกว่าคน ๆ นั้นไปทำอะไรไม่ดีมา แต่จริง ๆ ไม่ได้ทำ จนถึงสร้างผลเสียหายต่อแบรนด์เช่นที่เกิดขึ้นกับ KFC ในประเทศไทยที่เจอเรื่องข่าวปลอมไปแล้วบอกว่าเป็น KFC  ในประเทศไทย แล้วมีสื่อหลักเอาไปเขียนจนสร้างความเสียหายอย่างมากมาย แต่ไม่ได้มีการขออภัยหรือแก้ข่าวจากสื่อนั้นเลย ซึ่งเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นต่อข่าวปลอมพวกนี้เป็นการยากมากที่จะจัดการแก้ไขปัญหาได้ เพราะการกระจายตัวของข่าวไม่ดี ย่อมมีง่ายกว่าการให้ความจริง และคนมีอคติอย่างที่ได้กล่าวไป ทำให้เลือกที่จะเชื่อในสิ่งที่จะเชื่อเท่านั้น

images

ทั้งนี้ Google และ Facebook ก็เห็นผลร้ายของการเกิดขึ้นของการเติบโตของข่าวปลอมเหล่านี้ และมีผลอย่างมากโดยเฉพาะสังคมอเมริกันที่เกิดความแตกแยกทางด้านสีผิว เชื้อชาติ และยังส่งผลต่อความเชื่อในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐที่ผ่านมา จนกล่าวเป็นข้อครหาที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการใช้ Facebook และ Google จึงต้องออกมาจัดการเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยการลบและเตือนภัยข่าวปลอมที่จะเกิดขึ้นในสังคมออนไลน์ และทำให้หน้า Feed นั้นมีความปลอดภัยจากการหลอกลวงนี้ขึ้นมา ซึ่งการจัดการเรื่องข่าวปลอมนี้ยังคงเป็นหนทางที่ต้องเดินทางไปอีกยาวนาน และต้องการความร่วมมือจากทุก ๆ ฝ่ายไม่ว่าจะเป็นคนเล่น Social Network ให้รายงานข่าวปลอมพวกนี้ให้แบนไป หรือพวกสื่อต่าง ๆ เองก็ต้องมีการตรวจสอบที่มาที่ไปของข่าวมากขึ้นก่อนที่จะนำมาทำการรายงานทันที

3066630-inline-i-1-facebook-makes-its-first-moves-against-fake-news-embargo-1300-dec-15

สิ่งที่ทำได้นั้นคือแบรนด์ที่อาจจะเจอการโจมตีของข่าวปลอมเหล่านี้นั้นต้องระวังตัวเองและเตรียมพร้อมให้มากขึ้นไปอีกเพื่อที่เมื่อเวลาเกิดการโจมตีขึ้น แบรนด์ในตอนนี้ไม่ใช่แค่ติดตามกระแสการบอกต่ออย่างเดียว แต่ต้องมีเครื่องมือในการติดตามกระแสข่าวปลอมเหล่านี้เกิดขึ้นมา เมื่อเจอก็ทำการเตรียมการแถลงการณ์ที่สามารถตอบโต้กับข่าวปลอมนี้ได้อย่างทันควันในช่องทางของตัวเองทันที นอกจากการเตรียมพร้อมรับมือในที่ตั้งของตัวเองอย่างเช่นช่องทางของตัวเองแล้ว การสร้างเครือข่ายในการรับมือข่าวปลอมเหล่านี้ก็สำคัญเช่นกัน การสร้างฐานแฟนที่ติดตามแบรนด์ที่จะสามารถกระจายข้อเท็จจริง ให้กับคนที่ไม่มีอคติ และทำให้ข้อเท็จจริงเหล่านี้อยู่ในหน้าข้อมูลในการค้นหาแรก ๆ นั้นสำคัญ ซึ่งสามารถทำได้โดยการสร้างสัมพันธ์กับสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ในการช่วยกระจายข้อเท็จจริงเหล่านี้ก่อนที่ข่าวปลอมเหล่านี้จะกลายเป็นข่าวในสื่อกระแสหลักเล่นขึ้นมา ซึ่งจะสร้างความเสียหายอย่างมากต่อแบรนด์

559000012103101

แบรนด์ในยุคนี้ไม่สามารถแค่ทำการ PR หรือทำการสื่อสารแบบตั้งรับได้แล้ว เพราะมีภัยคุกคามทางด้านข่าวสารของคนที่ไม่หวังดีที่หวังผลจากการสร้างข่าวพวกนี้ให้ประโยชน์ขึ้นมา และผู้บริโภคกับสื่อหลาย ๆ สื่อเองก็ไม่ระวังในการในกระพือข่าวเหล่านี้ การเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นให้รวดเร็วและมีการเตรียมรับมือ พร้อมรับมือให้ทันต่อสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นจึงจำเป็นในยุคนี้


  • 2
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ