สร้าง Analytics Strategy ด้วยการใช้ขั้นตอนง่าย ๆ เหล่านี้

  • 433
  •  
  •  
  •  
  •  

สร้าง Analytics Strategy ด้วยการใช้ขั้นตอนง่าย ๆ เหล่านี้
สร้าง Analytics Strategy ด้วยการใช้ขั้นตอนง่าย ๆ เหล่านี้

การทำ Analytics นั้นเริ่มมีส่วนสำคัญในบริษัทอย่างมาก ยิ่งการทำ Data Driven Marketing แล้ว การวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในการทำงานเลยทีเดียว ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการทำงานในการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างราบรื่น การวางกลยุทธ์ในการวิเคราะห์ข้อมูล หรือ Framework ในการทำงานนั้นมีส่วนสำคัญที่จะทำให้ทีมงานนั้นเห็นภาพตรงกัน และทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลนั้นวิเคราะห์ได้ตรงเป้าหมายและถูกทางมากขึ้น 

ในบทความนี้จะช่วยให้นักการตลาดและคนที่ทำหน้าที่ในการวางกลยุทธ์ในการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นทำงานได้ง่ายขึ้นด้วยการใช้แนวทางนี้คือ 

1.Objective การมีเป้าหมายทางกลยุทธ์ว่า กำลังวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวัตถุประสงค์อะไรนั้น ทำให้คนทำงานนั้นมีทางเดินที่ถูกต้องว่า จะทำงานนี้ไปทางไหน ทำให้ไม่หลงทางในการทำงาน ยิ่งวัตถุประสงค์นั้นชัดเจน หรือเป็น SMART ที่ย่อมาจาก Specific มีความชัดเจน, Measurement วัดผลได้, Assignable ใครที่จะทำงาน, Realistic เป็นจริงได้ และ Time related มีกรอบเวลาในการทำงาน ทั้งหมดนี้ยิ่งให้ผลดีมาก  เพราะทำให้คนทำงานนั้นมีเป้าที่จะเดินทางไป 

2. Process เมื่อมีเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่ดีแล้ว ขั้นตอนมาคือการวางกระบวนการต่าง ๆ ขึ้นมา ด้วยการวาง Flow หรือ Diagram ในการทำงาน จะทำให้รู้ว่า การทำงานในการไหลของข้อมูล หรือแม้กระทั่ง Customer journey ต่าง ๆ จะเป็นอย่าง ช่วยให้มีส่วนสำคัญว่าใน Journey Flow หรือ Diagram นั้นจะต้องมีการเก็บข้อมูลอะไรบ้างขึ้นมา ซึ่งนักการตลาดสามารถเก็บข้อมูลได้คราว ๆ ดังนี้คือ 

2.1 Visibility Data คือ Data ที่เห็นที่เกิดขึ้นได้อย่างแน่ชัด ไม่ว่าจะเป็นการ้คลื่อนไหวของ Sales Dashboard ต่าง ๆ สินค้าคงคลัง หรือ Business Reviews Data ต่าง ๆ 

2.2 Forecast Data คือ Data ที่มาคำนวนว่าคาดการณ์ว่าจะเกิดอะไรเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะคาดการณ์ยอดขายประจำเดือน หรือ AN Testing ต่าง ๆ การจำลองเหตุการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต 

2.3 Optimization คือ Data ที่จะมาช่วยสนับสนุนในการตัดสินใจต่าง ๆ ในทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพในการทำงานต่าง ๆ หรือรายจ่ายสินค้าที่เกิดขึ้น หรือจะเป็น CTV 

3. Find the gap หลังจากได้ Objective และการข้อมูลใน Process ต่าง ๆ ออกมา ในคราวนี้ก็ต้องมาดูว่า Process กับ เป้าหมายที่วางเอาไว้นั้นยังหากไกลกันมาน้อยแค่นี้ เป็นการหาช่องว่างของ Analytics ปัจจุบัน กับ Business Objective เข้าด้วยกัน สิ่งที่นำมาเติมช่องว่างของคำตอบนี้คือ คือ Data ของการวิเคราะห์แบบ Forcast ในสถานการณ์ต่าง ๆ ออกมา หรือจะร่วมประชุมกันหาว่า จะใช้วิธีอะไรในการเติมช่องว่างนี้ โดยมากจะเป็นคำถามเช่นนี้เพื่อให้คำตอบออกมาคือ 

    • ทำไมถึงมีกิจกรรมเช่นนี้ และกิจกรรมแบบนี้ออกแบบมาเพื่อใคร เพื่อให้ได้คำตอบว่ากิจกรรมอะไรที่จะเป็น และ Prioritise งาน
    • ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงอะไรจะเกิดขึ้น คำถามเพื่อให้ได้คำตอบว่าอะไรจะต้องเปลี่ยนแปลงขึ้นมาบ้าง และการไม่เปลี่ยนแปลงจะมีผลอย่างไรบ้างในการทำงานขึ้นมา 

4. Fill in the gap process ในขั้นนี้คือขั้นเติมคำตอบจากคำถามในข้อก่อนหน้า เป็นการสร้างแผนงานเพื่อรองรับการวิเคราะห์ในการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น โดนหลักการในการสร้าง Process นี้คือ การเริ่มต้นแผนงานว่าจะเริ่มต้นอย่างและการจัดลำดับความสำคัญในงานที่เกิดขึ้น เพื่อให้นำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการวางเอาไว้ ซึ่งนักการตลาดและคนทำงานที่เกี่ยวข้องต้องอย่าลืมข้อควรระวังเหล่านี้คือ 

4.1 คุณค่าของข้อมูลและความเร่งด่วน อะไรคืองานที่สำคัญที่ต้องทำก่อนหลัง นั้นเป็นสิ่งที่นักการตลาดต้องตัดสินใจจากการได้ข้อมูลมา บางเรื่องเร่งด่วน แต่ไม่สำคัญ แต่บางเรื่องไม่ด่วนแต่สำคัญ การจัดการตัดสินใจเหล่านี้ต้องดูที่ข้อมูล และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นมาจากการ Forecast ผ่านข้อมูลที่เกิดขึ้น 

4.2 มีความเป็นจริงมากน้อยแค่ไหน สิ่งที่สำคัญคือเมื่อวิเคราะห์แล้ว ข้อมูลนั้นทำได้จริงมากน้อยแค่ไหน ซึ่งขึ้นกับทรัพยากรที่องค์กรมี ว่ามีทรัพยกรสนับสนุนมากน้อยแค่ไหน 

4.3 น่าสนใจหรือไม่ กลยุทธ์ที่ดี ต้องมีความน่าสนใจ ท้าทาย และกระตุ้นให้คนที่เกี่ยวข้องนั้นอยากทำตามหรือมีคุณค่ากับคนที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นการที่มีกลยุทธ์ในการวิเคราะห์ที่ดี จะช่วยทำให้ทีมนั้นอยากทำงานได้ง่ายเพิ่มขึ้นมาได้ 


  • 433
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ
CLOSE
CLOSE