สร้างประสบการณ์งาม ๆ กับผู้บริโภค ด้วยการใช้ Social Proof

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

สร้างประสบการณ์งาม ๆ กับผู้บริโภค ด้วยการใช้ Social Proof
สร้างประสบการณ์งาม ๆ กับผู้บริโภค ด้วยการใช้ Social Proof

เคยรู้สึกไหมว่า ถ้าคนรอบ ๆ ตัวใช้สินค้าประเภทเดียวกัน หรือเราเข้าไปอยู่ในวงสังคมเดียวกันไม่ว่าจะกลุ่มเพื่อน ที่บ้าน ที่ทำงาน หรือวงสังคม แล้วไม่ว่าจะเป็นอาหาร เสื้อผ้า โทรศัพท์มือถือ เราก็มักจะมีแนวโน้มที่จะเลือกใช้สินค้าแบรนด์เดียวกับสังคมที่เราอยู่ หรือได้สัมผัสมา กระบวนการที่บีบให้เราต้องอุปโภค บริโภคสินค้าแบบเดียวกับคนรอบตัวนี้คือกลไกทางจิตวิทยาที่เรียกว่า Social Proof 

กระบวนการ Social Proof  นั้นสามารถเกิดจากกลุ่มคน 2 แบบเข้าด้วยกัน นั้นคือ 

    1. กลุ่มบุคคลส่วนใหญ่ใช้ : พิสูจน์โดยคนในสังคมที่ส่วนใหญ่ใช้ผลิตภัณฑ์หรือสินค้านี้ ทำให้เราใช้งานตาม
    2. คล้ายกับคนอื่นใช้ : พิสูจน์โดยคนที่เราชื่นชอบใช้งาน หรือกลุ่มสังคมที่เราชื่นชอบใช้ จนทำให้เราใช้งานตาม

Social Proof เรียกได้ว่าเป็นกลไกเทคนิคทางจิตวิทยาที่ได้ผลอย่างมากในการโน้มน้าวให้ผู้บริโภคมาลองใช้อะไรใหม่ๆจากการศึกษาของ Nielson พบว่า 83% ใน 60 ประเทศนั้นเชื่อใน Social Proof มากกว่ากลไกของการทำโฆษณาอื่นๆอย่างมากด้วยการที่ได้ผลเช่นนี้การสร้าง Social Proof ดีๆในการทำประสบการณ์ของผู้บริโภคนั้นสามารถนำไปสู่การขายสินค้าและบริการได้อย่างดี 

ตัวอย่าง Social Proof ที่เห็นง่ายในทุกวันคือหน้าม้าในรายการทีวีตลกที่จะมีการหน้าม้าหัวเราะออกมาแม้ว่าผู้ชมทางบ้านจะไม่ชอบเสียงหน้าม้าที่หัวเราะออกมาแต่ทำไมถึงมีใช้ในทุกวันนี้ในรายการทีวีหรือที่ต่างๆอยู่นั้นก็เพราะจากการศึกษาของศาสตราจารย์ Sophie Scott พบว่าการมีหน้าม้าที่หัวเราะนั้นทำให้ผู้ชมหัวเราะได้นานและบ่อยมากขึ้นเมื่อถึงช่วงเวลาตลกและทำให้คนรู้สึกว่ามุกตลกนั้นตลกแม้ว่าจะไม่ได้ตลกมากก็ตามและจากการวิจัยพบว่าเสียงหัวเราะจริงๆของหน้าม้าที่เป็นคนเมื่อเทียบกับเทปเสียงแล้วเสียงของหน้าม้านั้นกลับได้ผลมากกว่าหลายเท่า 

ซึ่งแบรนด์และนักการตลาดจะใช้หลักการ social proof เพื่อสร้างการโน้มน้าวทางจิตวิทยาของกลุ่มเป้าหมายได้ด้วยวิธีดังนี้คือ 

    1. Reviews : วิธีการหนึ่งที่จะสามารถทำให้เกิดการโน้มน้าวทาง Social Proof ที่ดีคือการใช้การรีวิวสินค้าและบริการ หรือการมี Testimonials สินค้าเอาไว้ จากการศึกษาของ Mintel พบว่าคนกว่า 70% นั้นสอบถามความเห็นของคนอื่นก่อนที่จะซื้อใช้งาน หรือคนอายุในช่วย 18-34 ปี กว่า 81% มองหารีวิวต่าง ๆ ก่อนการใช้สินค้า
    2. Stats และข้อมูล : ด้วยการใช้ข้อมูลเชิงสถิติ ก็สามารถสร้างการชักจูงให้ผู้บริโภคนั้นสนใจในสินค้าได้ เพราะด้วยตัวเลขเชิงสถิตินั้นจะทำให้ผู้บริโภคนั้นรู้สึกปลอดภัยในการใช้สินค้าและบริการอย่างมาก เพราะมีคนใช้ร่วมกับตัวเองหลายคน ตัวอย่างง่าย ๆ คือ พวกร้านอาหาร McDonals ที่เคยมีการใช้ social proof ในการบอกว่า ให้บริการเบอร์เกอร์ไปเท่าไหร่แล้ว

    3. บอกว่าอะไรขายดี : การที่ร้านบอกว่ามีอะไรขายดี หรือสินค้าอะไรเป็นที่นิยม สามารถช่วยเร่งการขายได้เป็นอย่างดี นักวิจัยพบว่าพฤติกรรมอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคที่เข้ามาสั่งอาหารในร้านอาหารที่กรุงปักกิ่ง คือเมื่อเห็นอาหารที่ระบุว่า เป็นที่นิยมหรือขายดี จะทำให้เกิดการขายได้มากขึ้นถึง 13-21% เลยทีเดียว 
    4. ใช้คำพูดมาขาย : เมื่อผู้บริโภคเห็นว่ามีคนที่คล้ายกับตัวเอง หรือมีปัญหาแบบเดียวกับตัวเองออกมาชื่นชม สินค้าและบริการ กลุ่มเป้าหมายมีแนวโน้มที่จะเชื่อมากขึ้น และยิ่งคนที่ออกมาชื่นชมนั้นเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถืออย่างมาก ก็จะสามารถชักจูงให้เกิดการขายได้มากขึ้นไปอีกด้วย 

ด้วยการใช้ Social Proof นี้เป็นกระบวนการใช้สังคมมาช่วยในการขายสินค้าและบริการ ซึ่งเมื่อวางแผนดี ๆ แล้วจะสามารถสร้างประสบการณ์ดี ๆ ให้กับลูกค้าอย่างมากได้ ไม่ว่าจะเป็นก่อนการซื้อมีการให้คนที่มีปัญหามาพูด ในช่วงการหาข้อมูลก็ใช้การให้สถิติต่าง ๆ และข้อมูล เมื่อจะซื้อสินค้าก็สามารถใช้การบอกว่าสินค้าไหนขายดีขึ้นมา และจบท้ายด้วยการมีรีวิว ที่ทำให้คนที่ซื้อไปสินใจเพิ่มเติม เพื่อที่จะใช้ Social Proof ให้มีประสิทธิภาพ ลองดูว่ากระบวนการไหนในการทำประสบการณ์ของผู้บริโภคที่ยังไม่ดี ลองเอา social proof ไปใส่หรือ ช่วงเวลาไหนที่ผู้บริโภครู้สึกไม่มั่นใจ จะสามารถเอา Social Proof ไปเพิ่มความมั่นใจในสินค้าและบริการในจุดนั้นได้ไหม 


  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ