สายงาน Digital Marketing ยังได้รับความนิยมอยู่เรื่อยๆ โดยเฉพาะยุค COVID-19 ที่บริษัทหันมาทำธุรกิจและการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์กันมากขึ้น ถือเป็นโอกาสที่ดีที่ใครก็ตามที่สนใจอยากทำสายอาชีพนี้ วันนี้เลยเสนอข้อแนะนำหากสนใจทำงานด้านนี้จริงๆ
1. ค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งต่างๆในวงการ Digital Marketing
ตำแหน่งในสายงาน Digital Marketing มีเยอะมากๆ ไม่ว่าจะเป็น Account Executive, Media Planner, Media Buyer, Project Manager, UX/UI Designer. Web Developer, SEO Specialist, Content Creator, Creative/Graphic Designer, Digital PR ฯลฯ ถ้าสนใจงานในตำแหน่งที่ว่า เริ่มจากเอาชื่อตำแหน่งที่ว่าไปค้นหาในเว็บไซต์ประกาศรับสมัครงานอย่าง th.jobsdb.com ได้ แต่ถ้าอยากได้ข้อมูลเชิงลึกกว่านี้ เราสามารถเอาชื่อตำแหน่งไปหาใน Google ดูว่าตำแหน่งดังกล่าวมีรายละเอียดความรับผิดชอบอย่างไรในต่างประเทศ แนะนำว่าให้ใน Youtube ด้วย เพราะต้องมีคลิปวีดีโอที่รีวิวอาชีพนั้นด้วย เช่น Media Planner และ Performance Marketer (Media Buyer)
และถ้าเรายิ่งมี LinkedIn เราสามารถค้นหาชื่อตำแหน่งที่เราสนใจ ดูว่ามีความรับผิดชอบอะไรบ้าง แล้วมีบริษัทไหนที่เปิดรับ ต่อให้เรามีประสบการณ์ไม่พอ แต่ก็สามารถเป็นแรงบันดาลใจได้ ยิ่งกว่านั้น เราสามารถค้นหาชื่อตำแหน่ง แล้วดูว่าใครกำลังทำงานในตำแหน่งดังกล่าว เพื่อสอบถามพูดคุยประสบการณ์ทำงานได้เลย
และจะบอกว่า Job Description นี่แหละ ตัว Guideline คำถามสัมภาษณ์ดีๆนี่เอง
2. เก็บ Online Course และ Certificate ให้ครบ
อาชีพ Digital Marketing ไม่ได้เป็นวิชาชีพที่มีความรู้มาตรฐานอย่างหมอหรือทนายความ ดังนั้นเวลาบางบริษัทจะรับเข้าทำงาน ก็ต้องดูว่าเราสนใจ Digital Marketing มากน้อยแค่ไหนโดยดูจากคอร์สออนไลน์ที่เราเรียนมา (บอกก่อนว่ามหาฯลัยในไทยส่วนใหญ่ก็ยังสอน Digital Marketing ไม่กว้างและลึกพอ)
ที่สำคัญเรื่องของ Certificate ก็จำเป็นต้องเก็บให้ครบ โดยเฉพาะถ้าใครอยากมาสายยิงโฆษณา Certificate ของ Google Ads และ Google Analytics เป็นความรู้ที่จำเป็นต่อการทำงาน ส่วน Facebook และ Line นั้นก็มีคอร์สออนไลน์และ Certificate อย่าง Facebook Blueprint และ Line Study Room ให้เก็บด้วยเช่นกัน
3. ทำ Portfolio งานอาสาสมัคร หรืองานฟรีแลนซ์
เป็นข้อได้เปรียบไม่มากก็น้อย สำหรับคนที่มีประสบการณ์การทำงานไม่ว่าจะทำงาน Digital Marketing แต่ถ้าย้ายงายงานมาหรือเป็น First Jobber การทำ Portfolio ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุด ส่วนประเภท Portfolio ที่จะเริ่มทำก็แล้วแต่สายงาน เช่นถ้าเป็นสายยิงโฆษณา เราอาจจะต้องเปิด Facebook Page เอง ทำเว็บไซต์เอง ทำคอนเทนต์ แล้วเปิดบัญชีโฆษณา Google Ads กับ Facebook Ads แต่เดี๋ยวนี้ไม่ต้องแล้วเพราะ Coursera จัดให้ทั้ง Guide Project และ Facebook Social Media ที่มี Capstone Project ให้เราได้ทำจริง ใครสาย Digital Marketing Analytics ก็ลองทำโปรเจค Google Analytics และ Data Analytics ได้ แล้วใครสาย UX/UI ต้องไม่พลาด Google UX Professional Certificate
พอเรามี Portfolio แล้ว เราก็สามารถทำงานอาสาสมัครหรือทำฟรีแลนซ์เพื่อเก็บประสบการณ์ไปก่อน หรือถ้าอยากสมัครงงานเลยก็ได้ ถ้าเป็นตำแหน่งที่ไม่ได้ใช้ประสบการณ์มาก ก็น่าลองดูอยู่
4. ทำ Resume และ LinkedIn Profile ให้ครบถ้วนที่สุด
หลังจากที่รวบรวมข้อมูลว่าตำแหน่งที่เราทำนั้น มีความรับผิดชอบอะไรบ้าง แล้วต้องการคนแบบไหนเข้าไปทำงาน มี Certificate แล้ว มี Portfolio แล้ว เราก็เขียน Resume ได้เลย ซึ่งการเขียน Resume นั้น แนะนำว่าลองนึกถึงประสบการณ์การทำงาน ฝึกงาน หรือแม้แต่เคยทำโปรเจคในคอร์สต่างๆ ก็สามารถหยิบมาเขียนใน Resume ได้ทั้งหมดเลย เวลาเขียนก็อย่าเขียนแค่ว่าตัวเองรับผิดชอบอะไร แต่ให้เล่าถึงสถานการณ์ ความรับผิดชอบ สิ่งที่เราทำ แล้วผลลัพธ์ที่ออกมา และพยายามเขียนคีย์เวิร์ดที่มีใน Job Description ลงไปด้วย
คำถามคลาสสิคคือเขียนหนึ่งหน้าหรือสองหน้าดี คำตอบคือ 2 หน้าไปเลย เขียนให้ละเอียดที่สุด การเขียน Resume ละเอียดคือโอกาสในการตอบคำถามสัมภาษณ์ล่วงหน้าเลย นอกจากจะทำให้ฝ่าย HR ประทับใจในตัว Resume เราแล้ว เวลาสัมภาษณ์งาน เราก็สามารถใช้ Resume มาตอบคำถามได้ เช่นทำไมถึงสนใจงานนี้ ทำไมเราต้องรับคุณเข้าทำงาน อะไรคือสิ่งที่เราทำแล้วประสบความสำเร็จมากที่สุด แนะนำตัว ฯลฯ คำถามพวกนี้ หนีไม่พ้น Resume ที่เราเขียนมาเลย เราก็แค่ชี้ว่าใน Resume ของเราตรงกับ Job Description ตรงไหนบ้าง
5. ทำแบบทดสอบของบริษัทที่สมัครงาน
อย่างที่บอกไปว่า Digital Marketing ไม่ได้มีมาตรฐานทางวิชาชีพเหมือนการเงิน กฎหมาย หรือแพทย์ เลยจำเป็นต้องมีการทำแบบทดสอบเพื่อพิสูจน์ว่าเรามีความสามารถอยู่แค่ไหน หรือมีความสามารถจริงตามที่เราเขียนใน Resume หรือเปล่า โดยจะขอแบ่งเป็นการทดสอบที่จับเวลากับการทดสอบที่ไม่ได้จับเวลา
การทดสอบที่จับเวลา เป๋นการทดสอบความรู้ในตำแหน่งที่เราสมัครในเวลาจำกัด บางครั้งอาจจะมีปัญหาเชาว์ หรือแบบทดสอบบุคลิคภาพให้เราทำด้วย ตรงนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราได้ทบทวนความรู้มามากน้อยแค่ไหน สอบครั้งแรกๆเราอาจจะยังทำไมได้ แต่ครั้งต่อไปเราจะค่อยๆรู้แนวทางแบบทดสอบแล้วทำได้เอง
ส่วนแบบทดสอบที่ไม่จับเวลา เช่นให้เวลาเราทำ 2-3 วัน ให้คิดว่าเป็นความโชคดีของเราที่จะได้ทำอย่างเต็มที่ เพราะถ้าเราตอบได้ดี รับประกันได้เลยว่าผ่ายการสัมภาษณ์งานไปกว่าครึ่งแล้ว
6. เตรียมสัมภาษณ์งานให้พร้อม
ถ้าทำ Resume มาดี บอกเลยว่าไม่ต้องกังวลอะไร ที่เหลือก็แค่กรอกใบสมัครงานและส่งเอกสารในการสมัครงานให้เรียบร้อยก่อนสัมภาษณ์จริง ถ้าเป็นการสัมภาษณ์งานออนไลน์ ก็ทดสอบระบบหน้ากล้องให้เรียบร้อย เลือกสถานที่ที่ไม่การรบกวน ตอบสัมภาษณ์ก็มองหน้ากล้อง เตรียม Resume ให้เรียบร้อยเพื่อใช้อ้างอิงในการตอบคำถามสัมภาษณ์
ทั้งหมดนี้ก็คือวิธีการเตรียมพร้อมเข้าสู่สายงาน Digital Marketing คำแนะนำคือหากเราสัมภาษณ์งานไหนแล้ว เราสามารถโทรฯตามผลสัมภาษณ์เพื่อขอ Feedback ไว้ปรับปรุงการเตรียมตัวสมัครงานในคราวหน้าได้ ยิ่งสมัครงานและสัมภาษณ์ เราก็จะยิ่งชำนาญมากขึ้น เป็นกำลังใจให้กับคนหางานทำนะครับ