พลังของ Niche Market คิดแบบเล็ก ๆ แต่ได้อะไรใหญ่ ๆ

  • 726
  •  
  •  
  •  
  •  

ในการทำการตลาดนั้น นักการตลาดหรือผู้บริหารหลาย ๆ คนนั้นมักจะมีความคิดที่อยากจะขายสินค้าของตัวให้ได้ Mass มากที่สุด ดังนั้นจะทำการสื่อสารทางการตลาดที่จับกลุ่มคนหลาย ๆ กลุ่มมาก และสื่อสารหลาย ๆ แบบเพื่อให้ได้โดนทุกกลุ่มไป แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือการสื่อสารนั้นกลายเป็นการสื่อสารที่กระจัดกระจายไม่มีทิศทางและไม่ได้สร้างให้เห็นว่าสินค้าหรือบริการนั้นที่ใครจะเหมาะกัน

niche-market-image

กระบวนทำการตลาดนั้นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการทำการตลาดคือการรู้ว่ากลุ่มลูกค้าตัวเองนั้นจะเป็นใคร หรือเรากำลังทำบริการนี้ให้ใครได้ใช้ และทำไมเค้าต้องมาใช้เรา เราดีกว่าของคนอื่นอย่างไร ซึ่งการที่รู้ว่าใคร เหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นของทุกอย่างที่จะทำให้การทำการตลาดนั้นได้ผลมากที่สุด ซึ่งบางทีการเข้าใจกลุ่มที่เป้าหมายทางการตลาดแบบแม่น ๆ นั้น จะทำให้เห็นว่าบางทีกลุ่มที่เล็ก ๆ นั้นบางทีก็มีพลังอย่างมากในการที่จะก่อให้เกิดตลาดที่ใหญ่ขึ้นมาได้ ซึ่งนี้เองเป็นพลังของ Niche Market ที่โฟกัสความต้องการของกลุ่มที่นักการตลาดเข้าใจเป็นอย่างดีไปเลย

ภาพจาก CoachesTrainingBlog.com
ภาพจาก CoachesTrainingBlog.com

กลุ่ม Niche Market นั้นเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีความต้องการอย่างเฉพาะเจาะจงที่เหมือนกันอย่างมากและมีความแต่ต่างจากกลุ่มผู้บริโภคโดยทั่วไป ในเมื่อก่อนนั้นตลาด Niche Market นั้นจะไม่มีนักการตลาดคนไหนสนใจ หรืออยากเข้าไปทำการตลาด เพราะด้วยผลตอบแทนในการตลาดที่ได้กลับมานั้นอาจจะไม่คุ้มต่อการลงทุนในการทำสินค้าหรือสร้างตลาด ทำการสื่อสารทางการตลาดเข้าไปหาต่อคนกลุ่มนี้ แต่นั้นก็เพราะด้วยว่าในอดีตนั้นด้วยเครื่องมือสื่อสารที่จำกัดอยู่แต่กับสื่อ Mass และตลาดที่ไม่ได้เชื่อมกันทั้งโลกนั้น ทำให้การทำการตลาดของกลุ่ม Niche Market นั้นเลยกลายเป็นเรื่องที่การตลาดนั้นไม่อยากทำ ซึ่งด้วยวิธีคิดนี้ก็ส่งผลมายังยุคที่การสื่อสารเรื่องอินเทอร์เนตนั้นมีแรก ๆ อีกด้วยที่เว็บหลาย ๆ เว็บนั้นก็ทำตัวเป็นเว็บไซต์มหาชน ที่เจาะทุกกลุ่ม ซึ่งเราเรียกว่า Portal แต่เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาขึ้นตลาดกลุ่ม Mass เริ่มไม่ตอบโจทย์ปัจจุบัน ทำให้เว็บ Portal ทั้งหลายเริ่มลดความสำคัญลง เช่นเดียวกับการทำ Mass Marketing ในยุคนี้ที่โดนเทคโนโลยีเข้ามาปั่นป่วนจนทำให้วิธีการทำการตลาดนั้นต้องเปลี่ยนไป

screen-shot-2559-11-20-at-6-31-24-pm

ในยุคนี้ด้วยการสื่อสารที่ทำให้ไม่มีกำแพงนั้นทำให้การสื่อสารในการทำการตลาดกับกลุ่ม Niche Market นั้นสามารถทำได้ง่ายอย่างมาก และข้อดีคือการสามารถเจอกลุ่ม Niche Market ได้จากทุกที่ในโลกนี้ ทำให้กลุ่ม Niche Market ที่ไม่มีพลังกับกลายมาเป็นกลุ่มที่มีพลังได้อย่างมากในยุคนี้ เพราะกลุ่ม Niche Market นั้นมีความต้องการที่เฉพาะอย่างมาก และพร้อมใช้จ่ายอย่างมากกับบริการหรือสินค้าที่ตอบสนองความต้องการกลุ่มนี้ได้ ตัวอย่างในตลาดที่เป็นกลุ่ม Niche Market ที่เจอในกลุ่มผู้ชายนั้นคือ ตลาดกันพล่า หรือการต่อหุ่นยนต์กันดั้ม ซึ่หลาย ๆ คนมองเป็นตลาดที่ไม่น่าจะใหญ่ และเป็นเรื่องไร้สาระกับเด็ก ๆ แต่หารู้ไหมว่าตลาดกลุ่มนี้มีความแข็งแรงอย่างมาก และคนที่เป็นแฟนกันพล่านั้นก็มักจะใช้จ่ายอย่างสูงในการเข้ามาสะสมหรือหาซื้อหุ่นตัวต่อพวกนี้อย่างมาก เช่นการบินไปต่างประเทศเพื่อหาซื้อโดยเฉพาะ ซึ่งทำให้ตลาดกันพล่านั้นมีมูลค่าสูงอย่างมากในกลุ่มสินค้ามือหนึ่งเอง หรือสินค้าที่หายากเองเช่นกัน จากเมื่อก่อนเองในประเทศไทยนั้นจะเห็นสินค้าพวกนี้ตามแผนกของเล่นเด็ก ตอนนี้กลับกลายเป็นร้านขายโดยเฉพาะ ดึงดูดกลุ่มผู้ชายทั้งหนุ่มและคนวัยทำงานเข้าไปในร้านอย่างมาก

ภาพจาก http://tinobusiness.com/best-61-strategy-for-finding-a-niche-market/
ภาพจาก http://tinobusiness.com/best-61-strategy-for-finding-a-niche-market/

การทำการตลาดผ่านกลุ่ม Niche Market สามารถสร้างพลังได้อย่างมากมาย เมื่อรวมกลุ่ม Niche Market นี้ให้สามารถกลายเป็นชุมชนของกลุ่มที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันได้ขึ้นมา และเกิดเป็น Sub Culture ที่มีแบรนด์หรือองค์กรที่ทำการตลาดให้ในกลุ่มนี้เป็นผู้สนับสนุน ในต่างประเทศเองก็มีการสร้างกลุ่ม Niche Market Culture มา โดยกลายเป็นอุตสาหกรรมใหม่ของนักการตลาดที่รวบรวมเป้าหมายทางการตลาดมาเจอกันและสร้างความผูกพันธ์กับแบรนด์เอาไว้ได้ สิ่งที่เกิดขึ้นคือเมื่อแบรนด์นั้นสนับสนุนและทำให้กลุ่มอยู่รวมกัน และตอบสนองความต้องการของกลุ่มขึ้นมาได้ สิ่งที่เกิดขึ้นคือแบรนด์นั้นจะได้แฟนพันธุ์แท้หรือ กลุ่มคนจงรักภักดีต่อแบรนด์นี้ออกมา นอกจากนี้ข้อดีในการทำการตลาดและผลิตภัณฑ์นั้นยิ่งมีมาก เพราะทำให้นักการตลาดสามารถโฟกัสในตลาดที่มีความเฉพาะนี้ได้ โฟกัสในผลิตภัณฑ์ที่เจาะกลุ่มนี้โดยเฉพาะไม่ต้องสนใจว่าจะต้องเจาะตลาด Mass จนทำให้ไม่มีความเด่นชัดในผลิตภัณฑ์ขึ้นมา ถ้าเปรียบก็เหมือนร้านอหารที่ทำอาหารเจาะกลุ่มไปเลย หรือทำอาหารที่มีเพียงอย่างเดียวเพื่อตอบคนที่ต้องการอาหารแบบนี้ในเมืองไทยเองจะเห็นได้อย่างชัดเจน เช่นร้านข้าวไข่เจียว หรือร้านที่ขายข้าวกระเพรา อย่างเดียว สิ่งที่เกิดขึ้นจากการโฟกัสในผลิตภัณฑ์เดียวหรือผลิตภัณฑ์ที่ตอบกลุ่มเฉพาะนี้ จะทำให้ผลิตภัณฑ์และบริการของนักการตลาดนั้นดีขึ้นเรื่อย ๆ

ในยุคแรกของ Apple ก็เจาะกลุ่ม Niche Market โดยเฉพาะ กลุ่มที่ไม่อยากใช้ IBM และ MS
ในยุคแรกของ Apple ก็เจาะกลุ่ม Niche Market โดยเฉพาะ กลุ่มที่ไม่อยากใช้ IBM และ MS

ในยุคนี้ Niche Market นั้นไม่ใช่กลุ่มที่ไม่กลุ่มที่ไม่มีพลังหรือไม่น่าสนใจเท่าในอดีต แต่กลับเต็มไปด้วยเสน่ห์ที่จะสามารถสร้างกลุ่มที่มีความเฉพาะและเชื่อมโยงกับแบรนด์ที่เข้าไปทำการตลาดได้อย่างมาก และสามารถต่อยอดสร้างเป็นชุมชนที่เหนี่ยวแน่นในการใช้ผลิตภัณฑ์และบริการของนักการตลาดได้ตลอดไป


  • 726
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ