เปิด 3 เทรนด์ที่ SME ต้องเรียนรู้เพื่อรองรับการทำธุรกิจในโลกที่ผู้บริโภคต้องการความแตกต่าง

  • 804
  •  
  •  
  •  
  •  

3 Trends SME

ต้องยอมรับสถานการณ์โรคระบาดก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ไม่เพียงแค่ชีวิตประจำวันแต่ยังเปลี่ยนไปถึงรูปแบบการทำธุรกิจ ซึ่งธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีเงินทุนสูงอาจไม่น่ากังวลเท่าไหร่ แต่กับธุรกิจ SME แล้วถือเป็นเรื่องที่ใหญ่และสำคัญมาก เพราะนั่นหมายถึงการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ทั้งหลายเพื่อให้สอดรับกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น

โดยในงาน Trends Hunter 2021 ที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบการ SME เรียนรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงและมองเทรนด์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งคุณสุรศักดิ์ เหลืองอุษากุล นักวางกลยุทธ์การตลาดดิจิทัล บริษัท แบรนด์เบเกอร์ จำกัด ได้เล่าถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และแบ่งเทรนด์การตลาดดิจิทัลที่กำลังจะเกิดขึ้นออกเป็น 3 เทรนด์ด้วยกัน

 

การตลาดไร้กรอบ เน้นการมีส่วนร่วม

โดยเทรนด์แรกคือ การทำตลาดแบบไร้กรอบ โดยเฉพาะการทำการตลาดที่มีความสนุกและการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค ยกตัวอย่างเช่น “น้ำพริกแคบหมูยายน้อย” ที่มีการใช้ช่องทาง Facebook ในการเชิญชวนให้ลูกค้าช่วยคิดสโลแกนของผลิตภัณฑ์ ซึ่งแต่ละคำที่ลูกค้าตั้งให้มีความตลกและเชิงลบ หากยึดตามกรอบการตลาดแบบเดิมถือเป็นการทำตลาดที่ไม่ประสบความสำเร็จ แถมทำให้ภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ดูแย่

Capmoo 2

 

แต่เสียงตอบรับกลับสวนทางเมื่อมีการแชร์กว่า 4 พันครั้ง ส่งผลให้แบรนด์น้ำพริกแคบหมูยายน้อยกลายเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย รวมไปถึงการสื่อสารกับผู้บริโภคที่สนุกสนานโดยไม่สนเรื่องกรอบการตลาด หรืออย่าง “ขนมจีนป้าเขียว” ที่ไม่จำเป็นต้องเห็นตัวสินค้า แค่รูปคนทำแล้วข้อความสนุกสนานก็สามารถสร้างยอดแชร์สูงกว่า 1 หมื่นแชร์

Burker King

หรือจะเป็นแบรนด์สากลอย่างBurger King” ที่นำเบอร์เกอร์ของตัวเองมาวางทิ้งปล่อยให้เน่าเละจนสภาพไม่น่าดูเพื่อจะสื่อสารว่า เป็นอาหารที่ไม่มีสารกันบูดใดๆ เลย โดยไม่จำกัดว่าเบอร์เกอร์ต้องดูน่ากิน หรือแบรนด์ “IKEA” ที่ไต้หวันที่นำตัวละครในเกมมาใช้เป็นแคตตาลอค การทำตลาดดิจิทัลต้องทำยังไงก็ได้ให้แตกต่างไม่เหมือนคนอื่น เพราะถ้าทำเหมือนคนอื่นคนจะคาดเดาได้ และอะไรที่คาดเดาได้มันจะไม่น่าสนใจ

 

ผู้บริโภคมีอำนาจ พร้อมเปลี่ยนแบรนด์เสมอ

ถ้าจะเห็นความไร้กรอบของแบรนด์มากขึ้นก็ไม่ต้องแปลกใจเพราะ ผู้บริโภคมีอำนาจมากขึ้น ซึ่งเป็นเทรนด์ที่สองที่เกิดขึ้น เมื่อผู้บริโภครู้จักและจำแบรนด์ได้จากการทำตลาดไร้กรอบ ก็จะเป็นการสร้างโอกาสในการตัดสินใจเลือกของลูกค้า แบรนด์ต้องคิดเสมอว่าลูกค้าคือคนเลือก แบรนด์จึงต้องตั้งคำถามว่าสิ่งที่ทำอยู่ลูกค้าจะเลือกเราหรือไม่ ซึ่งแบรนด์ส่วนใหญ่มักติดกับดักความคิดที่ว่า แบรนด์สร้างสินค้าออกมาดีที่สุดแล้ว

The Customer

แต่ปัญหาคือความต้องการของลูกค้ามีความซับซ้อน โดย Facebook มีการเก็บข้อมูลโดยตั้งคำถามว่า สินค้าใดที่เปลี่ยนแบรนด์และ 3 เหตุผลหลักในการเปลี่ยนแบรนด์ ซึ่งพบว่าคนไทยเปลี่ยนแบรนด์เพราะเจอสินค้าที่ราคาคุ้มกว่า เจอสินค้าที่ดีกว่าและหาซื้อไม่ได้เลยเปลี่ยนไปซื้อของคู่แข่งที่ทดแทนกันได้ ซึ่งคนไทยกว่า 65% เปลี่ยนไปใช้สินค้าของคู่แข่งทดแทนในข่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม พร้อมเปิดรับแบรนด์ใหม่เสมอ

Research Switching

ทำให้ทุกวันนี้แค่แบรนด์ดูแลลูกค้าอย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องทำสินค้าให้ดีด้วยเพื่อสร้าง Loyalty เพื่อพัฒนาสินค้าอยู่เรื่อยๆ ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่ต้องมีการออกแบบตอบประสบการณ์ของลูกค้า เช่น ร้านหมูกระทะแห่งหนึ่งที่ทำให้ไอศกรีมเป็นก้อนลูกๆ และใช้วิธีคีบเป็นลูกแทนการตักแบบเดิมที่ยากมาก โดยมีการรีทวีตถึง 7 หมื่นกว่าคน

Ice Scream

ไม่เพียงเท่านั้นอำนาจของผู้บริโภคยังช่วยปกป้องแบรนด์ได้อีกด้วย ซึ่งเกิดจากการที่แบรนด์สร้างความผูกพันกับลูกค้า เมื่อมีความผูกพันมากๆ ลูกค้าก็จะรวมกลุ่มกันเพื่อปกป้องแบรนด์และสู้กลับ ขณะที่แบรนด์ก็ต้องระมัดระวังในการสร้างผลกระทบกับอีกแบรนด์ เช่น การก๊อปปี้ไอเดีย ซึ่งลูกค้าของแบรนด์ที่ถูกก๊อปปี้พร้อมจะปกป้องแบรนด์เหล่านั้น

 

การแข่งขันท้าชิงผู้บริโภค มองหาช่องว่างให้เจอ

เทรนด์ที่ 3 คือการท้าชิงเพื่อแย่งผู้บริโภค ที่เห็นได้ชัดคือ การเกิดขึ้นอย่างรุนแรงของ TikTok โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดสถานการณ์โรคระบาด TikTok พยายามดึงให้คนเข้ามาใช้บริการและพยายามล็อคให้คนใช้เวลาอยู่ในแพลตฟอร์มเป็นเวลานาน ซึ่งจะช่วยให้เปิดโอกาสในการรับรู้เพิ่มมากขึ้น หลายแพลตฟอร์มเริ่มขยายบริการเข้าสู่การขายสินค้าออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม

TikTok

Facebook เองก็มีการขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์เพิ่มเติมด้วยระบบการโอนเงินชำระเงิน นอกจากนี้ LINE เองก็มีช่องทางในการขายสินค้าและชำระเงินผ่านแพลตฟอร์มได้เลย เรียกว่าเป็นสงครามแย่งชิงผู้บริโภค ซึ่งธุรกิจก็ต้องดูให้ดีว่าช่องทางไหนที่ธุรกิจควรเข้าไปเพื่อเข้าถึงผู้บริโภคมากที่สุด แม้แต่ Google เองก็เข้าร่วมแยงชิงผู้บริโภคเช่นกัน จากเดิมที่เน้นการค้นหาแต่ตอนนี้ส่งข้อมูลไปโชว์ที่หน้าแรกโดยที่ไม่ต้องเข้าไปที่เว็บ

Sketch2Code

YouTube เองก็มีการจัดเก็บข้อมูลความสนใจของผู้บริโภค หรืออย่าง Microsoft ที่นำเครื่องมืออย่าง “Sketch2Code” ที่แค่วาดรูปหน้าตาเว็บที่ต้องการสร้างระบบ AI จะทำการสร้างหน้าตาเว็บนั้นออกมาทันที หลายคนนำเครื่องมือต่างๆ เข้ามาใช้อยู่ที่ธุรกิจจะเลือกใช้อย่างไรเพื่อให้เกิดประโยชน์ ในการเข้าถึงและสร้างความผูกพันกับผู้บริโภค

 

เทคโนโลยีผลักผู้บริโภคให้เกิดช่องว่างใหม่ๆ

ทั้งหมดนี้คือ 3 เทรนด์ที่จะเกิดขึ้นมาอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นการตลาดไร้กรอบเพื่อดึงความสนใจจากลูกค้าที่มีอำนาจ แล้วทุกคนพยายามท้าชิงเพื่อเข้าถึงคนๆ นั้น สิ่งที่แบรนด์ต้องทำคือการทำความเข้าใจลูกค้า แล้วตอนนี้ตลาดหรือคู่แข่งกำลังให้อะไรลูกค้าอยู่ แล้วมีช่องว่างอะไรมั้ย นั่นคือจุดที่ธุรกิจต้องเข้าไปแล้วหาสิ่งที่มาตอบโจทย์ผู้บริโภค

Conclude

ในบางตลาด สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการกับสิ่งที่ตลาดมอบให้สัมพันธ์กัน แต่จะมีอะไรบางอย่าง เช่น เทคโนโลยีในการผลักให้ผู้บริโภคออกไป ซึ่งบางครั้งผู้บริโภคก็ไม่รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร แต่เมื่อถูกผลักไปแล้วก็รู้สึกว่าได้แบบนี้ก็ดีเหมือนกัน สิ่งที่ธุรกิจต้องทำคือต้องมองให้ออกว่า เราเป็นคนผลักผู้บริโภคออกไปหรือมีคู่แข่งกำลังจะผลักผู้บริโภคออกไป ซึ่งธุรกิจต้องให้ออกว่าช่องว่างตรงนั้นคืออะไร แล้วรีบเข้าไปยึดช่องว่างนั้น ยกตัวอย่างเช่น เทคโนโลยี QR Code

AR Glasses

หลายบริษัทระดับโลกพยายามใช้เทคโนโลยีในการผลักผู้บริโภคเพื่อให้เกิดช่องว่างแล้วธุรกิจจะเข้าไปยึดพื้นที่นั้นไว้ อย่าง Facebook ที่พยายามหาเทคโนโลยีใหม่เพื่อให้ผู้ใช้งานไปใช้งานนอกมือถืออย่าง แว่น AR หรือแม้แต่การทำ Avatar นั่นจึงทำให้ธุรกิจมักจะผลักผู้บริโภคให้เกิดช่องว่างอยู่ตลอดเวลา เพื่อที่ธุรกิจจะได้่สร้างโอกาสใหม่แล้วลงไปยึกพื้นที่ช่องว่างเหล่านั้นก่อน

 

บทสรุปของสิ่งที่ SME ต้องทำ

SME จึงต้องมองให้ออกว่า ช่องว่างจะเกิดขึ้นตรงไหน เมื่อเกิดช่องว่างแล้วจะทำให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการ แล้วธุรกิจก็จะเข้ามายึดพื้นที่นั้นไว้ ซึ่งหาก SME เข้ายึดพื้นที่ช่องว่างเหล่านั้นช้า โอกาสจะยึดพื้นที่ช่องว่างเหล่านั้นจะกลายเป็นเรื่องที่ยากมาก SME ต้องมองช่องว่างให้เห็น

GAP

สิ่งที่ SME ทำได้คือต้องทดลองให้ไวเรียนรู้ให้ได้มาก เมื่อการตลาดไม่มีกรอบก็ต้องทดลองไปเรื่อยๆ ว่าแบบไหนถึงจะเวิร์ค จากนั้นใช้ข้อมูลที่มีในการสร้างความประทับใจกับลูกค้าที่ใช่ โดยไม่ใช้วิธีหว่านแหแบบเดิมๆ และใช้ประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีในการท้าชิงผู้บริโภค ธุรกิจก็มีอำนาจในเลือกสื่อสารไปหาลูกค้าเฉพาะที่ใช่เพราะการ “เป็นทุกอย่างให้เธอ” มันไม่โดดเด่น

DATA

ถ้าอยากเห็นโลกที่มีวัคซีนป้องกันโรคระบาดเป็นอย่างไรให้ดูที่ไทยและจีน เพราะไทยและจีนเป็น 2 ประเทศที่มีการจัดงานกิจกรรมต่างๆ แทบจะเป็นปกติ ไม่ว่าจะเป็นงานแสดงสินค้าหรือคอนเสิร์ต พลังของ Digital Marketing จะช่วยให้หาคนที่ใช่ได้ง่ายมาก ด้วยเวลาที่ใช่และประสบการณ์ที่ใช่ ผ่านมาวิเคราะห์จากข้อมูล (Data) เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภค


  • 804
  •  
  •  
  •  
  •  
Gigolo
เมื่อเทคโนโลยีอยู่ใกล้กับชีวิตทุกคน มารู้เท่าทันเทคโนโลยีเพื่อใช้มัน แต่อย่าให้เทคโนโลยีมันใช้เรา