ความบันเทิงออนไลน์ คือ สินค้าฟุ่มเฟือย! “สรรพสามิต” เล็งรีดภาษี เกม-เพลง-หนัง เข้าข่ายทั้งหมด

  • 1.3K
  •  
  •  
  •  
  •  

เก็บภาษีเกมอีสปอร์ต

ต้องยอมรับว่าไม่กี่ปีมานี้ มีธุรกิจผู้ให้บริการออนไลน์จากต่างชาติ (OTT) ไม่ว่าจะเป็น Facebook, LINE, Netflix และแอปพลิเคชันอื่นๆ รุกเข้ามาตีตลาดในประเทศไทยและสร้างรายได้จำนวนมหาศาลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทาง กสทช. ก็เล็งเห็นถึงการเติบโตของตลาดออนไลน์ จึงผุดไอเดียเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากการใช้โครงข่ายของผู้ให้บริการ OTT โดยล่าสุดด้านกรมสรรพสามิตก็เปิดรับถึงไอเดียดังกล่าว อาจมีการขยายการเก็บภาษีไปยังธุรกิจเกมอีสปอร์ต (E-Sport) ด้วย ให้เหตุผลว่า “ถือเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย”

นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ปัจจุบันกำลังศึกษาแนวทางการเรียกเก็บภาษีจากผู้ให้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์จากต่างชาติและเกมอีสปอร์ตจริง เนื่องจากในตลาดมีการซื้อขายพื้นที่สื่อสูงมาก และหลายบริการมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายแบบรายเดือด อาจจัดอยู่ในกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย แต่ปัจจุบันยังไม่มีช่องทางให้สามารถเก็บภาษีได้ เนื่องจากหลายบริษัทจดทะเบียนอยู่ที่ต่างประเทศ โดยธุรกิจที่อาจจัดเก็บที่สุด คือ เกมอีสปอร์ต เพราะถูกจัดอยู่ในกลุ่มกีฬา ตาม พ.ร.บ. การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ.2558 ซึ่งทั้งกรมสรรพสามิตและกรมสรรพากร ไม่มีอำนาจในส่วนนี้

เก็บภาษีเกมอีสปอร์ต

สำหรับกรณีการเรียกเก็บภาษีเงินได้ 15% จากผู้ประกอบการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (E-business) จากนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ที่สร้างรายได้และกำไร โดยใช้ domain name ของประเทศไทย ปัจจุบันจะยังไม่มีการเรียกเก็บดังกล่าว

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า เดิมทีแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ในอดีตยังไม่ได้มีโปรดักส์สำหรับการซื้อขายพื้นที่สื่อมากนักเท่าปัจจุบัน แต่เมื่อเทคโนโลยีมีการพัฒนาตลอดเวลา จนเข้าไปเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคจากออฟไลน์สู่ออนไลน์ เราจึงได้เห็นโปรดักส์อย่าง Facebook Ads และ LINE@ เกิดขึ้นมาเพื่อรองรับภาคธุรกิจสร้างการซื้อขายเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันแม้จะที่เม็ดเงินหมุนเวียนในตลาดออนไลน์อย่างต่อเนื่อง แต่ฝั่งภาครัฐเองก็ยังไม่สามารถจัดเก็บภาษีในส่วนนี้ได้ทั้งหมด เพราะแพลตฟอร์มส่วนใหญ่อยู่ต่างประเทศ และไม่มีกฎหมายรองรับ แน่นอนอาจมีการหารือเพื่อเรียกเก็บภาษีในอนาคตอันใกล้

ที่มา : matichon.co.th


  • 1.3K
  •  
  •  
  •  
  •  
Roboots
Tech Savvy Lv.14