เปิดมาตรการลดค่าไฟฟ้าล่าสุด พร้อม “วิธีคำนวณ” และทำความเข้าใจค่าไฟฟ้าทำไมปรับราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ

  • 474
  •  
  •  
  •  
  •  

ค่าไฟ

หลังจากที่ก่อนหน้านี้ รัฐบาลมีมาตราการให้ผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยสามารถใช้ไฟฟ้าได้ฟรี เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในช่วงที่มีสถานการณ์ COVID-19 โดยยึดจากแผนความช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ทว่าเป็นแผนที่สวนทางกับความเป็นจริง เนื่องจากช่วงเดือนเมษายนเป็นช่วงที่มีอากาศร้อนที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่มีการใช้ไฟฟ้าสูง ประกอบกับรัฐบาลรณรงค์ให้ประชาชนหยุดอยู่บ้านและทำงานที่บ้าน (Work from Home)

Plug

ซึ่งทำให้มีการใช้ไฟฟ้าที่สูงกว่าปกติแม้จะเป็นผู้มีรายได้น้อยก็ตาม ส่งผลให้รัฐบาลมีการปรับมาตรการค่าไฟฟ้าใหม่เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ความเป็นจริง สำหรับมาตรการค่าไฟฟ้าครั้งใหม่แบ่งออกเป็น 3 มาตรการ โดย มาตรการที่ 1 สำหรับผู้ใช้ไฟประเภทที่มีขนาดมิเตอร์ไม่เกิน 5 แอมป์ จากเดิมที่รัฐบาลให้ใช้ไฟฟ้าฟรีเมื่อใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน เพิ่มเป็นใช้ไฟฟ้าฟรีเมื่อใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน 

Calculate-01
สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 800 หน่วย

มาตรการที่ 2 สำหรับผู้ใช้ไฟประเภทที่มีขนาดมิเตอร์เกิน 5 แอมป์ขึ้นไป โดยดูจากค่าไฟฟ้าเดือนกุมภาพันธ์เป็นหลักแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรกสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 800 หน่วย จ่ายค่าไฟฟ้าเท่ากับเดือนกุมภาพันธ์ ยกตัวอย่างเช่น “สมมติ” เดือนกุมภาพันธ์ใช้ไฟฟ้า 300 หน่วย ในเดือนเมษายนใช้ไฟฟ้า 700 หน่วย สามารถจ่ายค่าไฟฟ้าเท่ากับเดือนกุมภาพันธ์ในปริมาณการใช้ไฟฟ้า 300 หน่วย

Calculate-02
สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าเกิน 800 หน่วย แต่ไม่เกิน 3,000 หน่วย

ส่วนที่ 2 สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าเกิน 800 หน่วย แต่ไม่เกิน 3,000 หน่วย ให้จ่ายส่วนเกินเมื่อคิดจากเดือนกุมภาพันธ์ในอัตรา 50% ยกตัวอย่างเช่น สมมติเดือนกุมภาพันธ์ใช้ไฟฟ้า 300 หน่วย ในเดือนเมษายนใช้ไฟฟ้าไป 1,000 หน่วย มีส่วนต่างจากเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 700 หน่วย ส่วนต่างดังกล่าวให้คิด 50% เหลือเพียง 350 หน่วยเมื่อรวมกับการใช้ไฟฟ้าเดือนกุมภาพันธ์ที่ใช้อยู่ 300 หน่วย จะทำให้การใช้ไฟฟ้าเดือนเมษายนเหลืออยู่ที่ 650 หน่วยจากเดิมที่ใช้ไฟฟ้าถึง 1,000 หน่วย

Calculate-03
สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าเกิน 3,000 หน่วย

มาตรการที่ 3 สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านที่อยู่อาศัยเกิน 3,000 หน่วยให้ จ่ายส่วนเกินเมื่อคิดจากเดือนกุมภาพันธ์ในอัตราส่วนลด 30% ยกตัวอย่างเช่น สมมติเดือนกุมภาพันธ์ใช้ไฟฟ้า 1,500 หน่วย ในเดือนเมษายนใช้ไฟฟ้าไป 3,500 หน่วย มีส่วนต่างจากเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 2,000 หน่วย ส่วนต่างดังกล่าวให้ลดไป 30% หรือ 600 หน่วย เหลือเพียง 1,400 หน่วยเมื่อรวมกับการใช้ไฟฟ้าเดือนกุมภาพันธ์ที่ใช้อยู่ 1,500 หน่วย จะทำให้การใช้ไฟฟ้าเดือนเมษายนเหลืออยู่ที่ 2,900 หน่วยจากเดิมที่ใช้ไฟฟ้าถึง 3,500 หน่วย

ทั้งนี้ทุกมาตรการมีผลตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม โดยจะมีการทะยอยคืนค่าไฟส่วนต่างให้กับประชาชนในรอบบิลถัดไป

info-มาตรการค่าไฟ

มาถึงตรงนี้หลายคนคงเริ่มสงสัย “ทำไมราคาน้ำมันลดลงแต่ราคาไฟฟ้าไม่ลดตาม” คำตอบง่ายๆ ไฟฟ้าไม่ได้ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า แต่เชื้อเพลิงส่วนใหญ่ที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าคือก๊าซธรรมชาติ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าประมาณ 70% ทำให้ราคาน้ำมันลดลงไม่มีผลต่อค่าใช้ไฟฟ้า ในทางตรงข้ามราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นกลับมีผลต่อค่าไฟฟ้า นั่นเพราะน้ำมันคือต้นทุรภาคขนส่งเพราะปัจจุบันก๊าซธรรมชาติยังถูกขนส่งด้วยรถบรรทุกเป็นส่วนใหญ่ เมื่อราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นทำให้ต้นทุนค่าขนส่งพลังงานปรับสูงขึ้นตาม แต่ต้นทุนด้านการขนส่งเป็นหนึ่งในต้นทุนค่าไฟฟ้าด้วย

IPP
ที่มา: กฟผ.

สำหรับค่าไฟฟ้าที่ทุกคนจ่ายๆ ประกอบไปด้วย ค่าพลังงานไฟฟ้าฐาน หรือต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าจริง ซึ่งรวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าทั้งในกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP – Independent Power Producer) กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP – Small Power Producer) กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้ารายย่อย (VSPP – Very Small Power Producer) ระบบส่งและจำหน่ายไฟฟ้า

ค่าบริการ ต้นทุนในการให้บริการตั้งแต่ การบำรุงรักษาระบบสายส่ง การซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้า การอ่านและจดหน่วยมิเตอร์ไฟฟ้า การจัดทำและส่งบิลค่าไฟฟ้า ระบบรับชำระค่าไฟฟ้าทั้งที่สำนักงานและออนไลน์ ค่า Ft หรือค่าไฟฟ้าผันแปร ซึ่งค่า Ft จะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อต้นทุนมีการปรับเปลี่ยน เช่น ค่าเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ต้นทุนด้านการขนส่ง ค่าซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ กองทุนต่างๆ ค่าส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (FiT – Feed-in Tariff) และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7%)

Bill
ที่มา: กฟภ.

ทั้งนี้ค่าพลังงานไฟฟ้าฐานดูแลโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ขณะที่ค่าบริการจะดูแลโดยการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ส่วนค่า Ft จะเป็นหน้าที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เป็นผู้คิดคำนวนต้นทุนแปรผัน โดยยึดค่าครองชีพของผู้บริโภคในการร่วมคิดคำนวนเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนให้น้อยที่สุด

 


  • 474
  •  
  •  
  •  
  •  
Gigolo
เมื่อเทคโนโลยีอยู่ใกล้กับชีวิตทุกคน มารู้เท่าทันเทคโนโลยีเพื่อใช้มัน แต่อย่าให้เทคโนโลยีมันใช้เรา
CLOSE
CLOSE