5 บทเรียนที่ธุรกิจขนาดเล็กสามารถเรียนจากเอเจนซี่ในตำนานได้

  • 82
  •  
  •  
  •  
  •  

ในการทำการตลาดนั้นแบรนด์ต่าง ๆ มักใช้บริการของเอเจนซี่ในการที่จะทำการศึกษาผู้บริโภคและทำโฆษณาต่างออกมาในการสื่อสารทั้งหลาย เพื่อที่จะดึงผู้บริโภคนั้นให้สนใจสินค้าและบริการจนสามารถตัดสินใจกลายเป็นลูกค้าของแบรนด์นั้น ๆ ได้ ทำให้เอเจนซี่นั้นมักจะมีคนที่เชี่ยวชาญงานหลากหลายรูปแบบและเจอโจทย์ที่แตกต่างกันอย่างมากมายในการทำงานที่จะต้องแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าที่เข้ามาติดต่องาน ดังนั้นองค์ความรู้ในเอเจนซี่ที่เกิดขึ้นมานั้นสามารถเอาไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมากมายกับธุรกิจอื่น ๆ

เอเจนซี่ใหญ่ ๆ ระดับตำนานโดยเฉพาะรุ่นผู้ก่อตั้งเอเจนซี่นั้นมักจะมีความเก่งกาจอย่างมากในการสร้างการตลาดของตัวเองและคิดกาตลาดต่าง ๆ ให้ลูกค้าขึ้นมา ทั้งนี้ในบทความนี้นั้นจะนำนักการตลาด โดยเฉพาะผู้ที่ทำ SME นั้นไปเรียนรู้บทเรียนจากเอเจนซี่เหล่านี้และวิธีการเอามาประยุกต์ใช้กับธุรกิจตัวเอง ทั้งหมดในคำแนะนำต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในบทความนี้ สิ่งที่คุณจะไม่เจอเลยคือข้ออ้างเรื่องของ งบประมาณ หรือ ทรัพยากรในการทำงานไม่ว่าจะทีมหรือเครื่องมือเองก็ตาม แต่เป็นทัศนคติกับกลวิธีการคิดในการทำงาน เพื่อที่จะทำให้ได้งานที่ออกมาดีที่สุดออกมา ซึ่งทั้งหมดนี้จะมีอยู่ 5 ข้อด้วยกันคือ

1. ปรับตัวให้คิดในการทำอะไรใหม่ ๆ ออกมา : บทเรียนนี้เกิดขึ้นจากภายในเอเจนซี่ที่เป็นผู้ดูแลแบรนด์อย่าง Nike หรือ KFC ที่อเมริกา โดยเอเจนซี่นี้มีชื่อว่า W+K โดยที่นี้จะมีการใช้สิ่งที่เรียกว่า “frontier mentality.” หรือการลองทำอะไรใหม่ ๆ ที่เป็นสิ่งที่ไม่คุ้นเคยขึ้นมา ตัวอย่างเช่น การลองเทคโนโลยีเกิดใหม่ การลอง Platform ใหม่ รวมทั้งการเสี่ยงในการทำการตลาดให้ทั้งตัวเองและลูกค้า การคิดแบบนี้จะทำให้เอเจนซี่นั้นไม่ติดหลุมพลางกับดักความคิดในการทำอะไรแบบเดิม ๆ ซ้ำ ๆ หรือการใช้ความคุ้นชินในการทำงานตัวอย่างเช่น การเจอลูกค้าที่มีกลุ่มเป้าหมายใกล้เคียงกัน ก็อาจจะตกหลุมพลางความคิดโดยการใช้วิธีการเดียวกันไปเลย ซึ่งอาจจะไม่เวิร์คเลยด้วยซ้ำ ทั้งนี้ที่ W+K จะมีอะไรเกิดใหม่ ๆ มากมายไม่ว่าาจะเป็นเทคโนโลยีการใช้ Voice หรือการใช้ AI มาทำ Campaign ต่าง ๆ ขึ้นมา

httpv://www.youtube.com/watch?v=jk0Hi7kv7rc

2. สร้างนิสัยความอยากรู้ : บทเรียนนี้มาจากอดีตผู้บริหาร Ogilvy ที่ชื่อว่า George Tannenbaum โดยใน AdAge ทาง George Tannenbaum ได้มาแชร์คำแนะนำของตัวเองจากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาว่า การสร้างนิสัยความอยากรู้นั้นเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จทางการตลาด โดยเขายกตัวอย่างจาก Richard Branson มหาเศรษฐีเจ้าของ Virgin Group ที่ชอบเรียนรู้และผจญภัยอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นบทเรียนที่ George Tannenbaum ยกให้ไว้นั้นคือ การที่ต้องเป็นคนที่เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ตลอดเวลาโดยการไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์ต่างประเทศ การอ่านหนังสือ การเข้าไปคุยกับผู้คนตามที่ไม่คุ้นเคยต่าง ๆ รวมทั้งการพูดคุยกับเด็กในการตอบปัญหาความอยากรู้ของเด็กต่าง ๆ ด้วย

บทความของ George Tannenbaum
บทความของ George Tannenbaum

3. อย่าละเลยการ Research : เคล็ดลับนี้มาจาก Ogilvy โดยตรงเองเลย โดย David Ogilvy บอกว่าตัวเองนั้นเป็น Copywriter ที่แยกมากและจะทำงานอะไรไม่ได้เลยถ้าไม่มีการช่วยเหลือจากงาน Research ต่าง ๆ ซึ่งเวลา David Ogilvy จะเตรียมทำ Campaign ให้ลูกค้านั้น เขาจะใช้เวลาอย่างมากในการ Research สินค้าของลูกค้าที่เขาจะเขียนถึง นอกจากนี้ยังไปศึกษาโฆษณาของคู่แข่งต่าง ๆ ที่ทำมาก่อนหน้าย้อนหลัง 20 ปีไปด้วย จากนั้นเมื่อทำการศึกษาทุกอย่างแล้ว David Ogilvy จะเขียนปัญหาต่าง ๆ ของสินค้าที่พยายามจะแก้ไขปัญหา และสร้างรายการ ข้อเท็จจริงจากประโยชน์ที่ได้จากสินค้าและไอเดียที่ขายได้ออกมา ด้วยวิธีการศึกษา Research เหล่านี้จนได้ปัญหาที่เกิดขึ้นและสิ่งที่แบรนด์กำลังจะแก้ไขปัญหาออกมา ทำให้ David Ogilvy ทำโฆษณาได้คมคาย และกระบวนการแบบนี้ก็ยังใช้กันมาถึงทุกวันนี้

0*DIiCep7JFK9MUiTT

4. มองให้ขาดเพื่อปล่อยวาง : คำแนะนำนี้มาจาก Jeff Goodby ผู้ร่วมก่อตั้งเอเจนซี่ Goodby Silverstein & Partners โดย Goodby ได้เล่าว่าครีเอทีฟหลาย ๆ คนโดนกลืนกินโดยไอเดียหรืองานตัวเองจนไม่สามารถปล่อยวางงานนั้นได้ออกจากมือตัวเองไป โดยหลาย ๆ ครั้งเขาพบว่าครีเอทีฟหลายคนนั้นห่วงไอเดียและมักจะไม่ยอมปล่อยวางไอเดียนั้นออกไปเมื่อมันไม่เวิร์คหรือไม่ดีเพียงพอ แต่จากประสบการณ์ของ Goodby เองพบว่า การปล่อยวางงานตัวเองโดยไม่ทำได้หรือเลือกลูกค้าที่จะทำงานให้ถูกต้องได้นั้นมีผลอย่างมาก เพราะ Goodby Silverstein & Partners นั้นเคยปฏิเสธงานของ Apple ไป นั้นคือการทำการตลาดให้ Apple Lisa ปรากฏว่า Apple ผลิตภัณฑ์กลับกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ล้มเหลวมากที่สุดโดยขายได้แค่ 10,000 เครื่องเท่านั้น

httpv://www.youtube.com/watch?v=Smvl2W38aag

5. เปิดประตูทิ้งไว้ : คำแนะนำสุดท้ายนี้มาจาก John Hunt ผู้ร่วมก่อตั้ง TBWA โดยเขาพบว่ามีอยู่ช่วงหนึ่งที่วัฒนธรรมองค์กรใน TBWA นั้นทุกคนทำงานตัวใครตัวมัน ปิดประตูห้องไม่สนใจกันและห่วงไอเดียเอาไว้กับตัวเอง ทำให้สิ่งที่เกิดขึ้นคือคนไม่ประสานงานและคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน รวมทั้งไม่เป็นทีมเวิร์คอีกด้วย ดังนั้นสิ่งที่ John Hunt ทำคือคืนหนึ่งเขาเรียกช่างมาถอดประตูทุกบานออกจากออฟฟิสให้ทุกคนสามารถเดินมาคุยหรือดูไอเดียกันได้ ทำให้เกิดความร่วมมือและเรียนรู้ร่วมกันขึ้นมา

httpv://www.youtube.com/watch?v=Is9O_FVjhdc


  • 82
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ