การทำ E-mail Marketing นั้นไม่ค่อยนิยมในหมู่นักการตลาดไทยเป็นอย่างมาก เพราะคิดว่าการทำ E-mail Marketing นั้นมักไม่ได้ผล โดยเมื่อส่งไปแล้วมักจะไม่ถูกเปิดอ่าน หรือ ตกลงไปอยู่ใน Junk Mail, Trach Can บ้าง ทำให้นักการตลาดหลาย ๆ คนละทิ้งโอกาสที่จะเข้าไปคุยและปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายแบบตัวต่อตัวนี้ทิ้งลงไป ทั้งที่จริงแล้วการทำ E-mail Marketing นั้น ถ้าทำให้ถูกต้องและใช้ข้อมูลมาวิเคราะห์จะทำให้เกิดประสิทธิภาพอย่างมาก และเพิ่มยอดขายและการใช้บริการขึ้นมาอีก
E-mail Marketing นั้นในต่างประเทศได้จัดว่าเป็นเครื่องมือที่ได้ผลอย่างมากในการติดต่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายตัวเองขึ้นมา เพราะสามารถกระตุ้นความสนใจของกลุ่มเป้าหมายในสินค้าและบริการ ยังสามารถสร้างการขายสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นมาทันที ในประเทศไทยเองก็มีนักการตลาดจำนวนหนึ่งที่นิยมการทำ E-mail Marketing นี้เช่นกัน แต่ถึงแม้จะใช้ E-mail Marketing ได้ดีแค่ไหน หรือถูกต้องตามหลักการ ก็สามารถทำผิดพลาดได้โดยไม่รู้ตัว ด้วยข้อผิดพลาดในรูปแบบ 5 ข้อนี้ขึ้นมา
1. ส่งอีเมล์ที่เหมือน ๆ กัน : ในการทำ E-mail Marketing นั้นนักการตลาด ๆ คนมักจะใช้ Template ข้อความในการส่งออกไป ไม่ว่าจะเป็นการส่งเพื่อชี้ชวนต่าง ๆ หรือแม้กระทั้งง่ายในการส่งอีเมล์เพื่อขอความเห็น ติดต่อสอบถามจากกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวคือนักการตลาดใช้วิธี Copy & Paste เนื้อหานี้ขึ้นมา (ถ้าใครเป็น Influencer/Blogger จะเจอบ่อยกับ Agency ที่มักง่ายที่ส่งแบบนี้) ปัญหาที่เกิดขึ้นจากอีเมล์เหล่านี้ที่เห็นทันทีเลยมี 2 แบบ แบบแรกคือความผิดพลาดจากการ Copy & Paste ที่ไม่ได้แก้ไขอีเมล์นั้นให้เป็นชื่อผู้รับปลายทาง ทำให้การเป็นส่งอีเมล์ให้อีกคน แต่ชื่อเป็นคนละคนไป ทำให้ผู้รับเกิดความรู้สึกว่าการส่งนี้เกิดจากความมักง่ายและไม่จริงใจในการส่ง ปัญหาแบบที่ 2 คือการที่อีเมล์นี้จะทำให้รู้สึกไม่น่าสนใจ เพราะส่งข้อความแบบเดียวกันหา ๆ กันหมด โดยไม่ได้รู้ว่าผู้รับอยากอ่านอะไร หรืออยากรู้อะไรในรายแต่ละคนหรือราย Segment ทำให้ผู้อ่านคิดว่าอีเมล์ที่ส่งมาไม่ได้ตรงกับความต้องการตัวเองแล้วละทิ้งไป
2. พยายามขายมากเกินไป : เคยไหมที่ไปซื้อของตามร้านค้า แล้วเจอพ่อค้าแม่ค้าที่พยายามยัดเยียดการขายสินค้าที่เราไม่ได้ต้องการ หรือมาพูดขายของตลอดเวลา ทำให้เรารู้สึกอึดอัดในการซื้อของนั้น นี้เป็นอาการแบบเดียวกันที่เกิดขึ้นกับการส่ง E-mail Marketing ที่พยายามมากเกินไปที่จะขายของ โดยไม่ได้สนใจความรู้สึกของผู้รับปลายทางที่อยากจะได้อะไรจากอีเมล์นี้ หรือไม่ได้คิดเรื่องการสร้างคุณค่าให้ผู้อ่านนอกจากการขายของของตัวเองเลย ด้วยอีเมล์ที่ส่งมากแบบนี้ทำให้ผู้รับเกิดความรำคาญ หรือไม่อยากจะอ่านเพราะมีแต่การขายเท่านั้น จึงละทิ้งอีเมล์เหล่านี้ไป ทั้งนี้ทางแก้คือการทำอีเมล์ที่มีคุณค่าขึ้นมา โดยใช้หลักการ Give & Take ซึ่งสามารถใช้การให้ข้อมูลที่สำคัญ เรื่องราวเทคนิคต่าง ๆ หรือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น แล้วจึงแนบการขายสินค้าและบริการเข้าไปหากคนอ่านนั้นสนใจ
3. มั่นใจเกินเหตุ : อีเมล์อีกรูปแบบหนึ่งที่มักเกิดความผิดพลาดโดยไม่รู้ตัว คือการส่งอีเมล์ที่เรียกได้ว่ามีความมั่นใจเกินเหตุ โดยการส่งออกมาโดยคิดว่าผู้รับนั้นจะเข้าใจ หรือ รู้จักตัวตนของแบรนด์ สินค้าและบริการอยู่แล้ว โดยหารู้ไม่ว่าทั้งที่จริงแล้วผู้รับอาจจะไม่ได้รู้จักคุณเลย หรือไม่เข้าใจเลยว่าคุณกำลังจะขายสินค้าอะไร ซึ่งนี้เกิดจากการใช้มายาคติที่เอาตัวเองมาเป็นจุดศูนย์กลางในการคิดในการส่งอีเมล์ว่า ผู้รับนั้นต้องรู้ข้อมูลเท่า ๆ กับตัวเอง หรือหลงคิดไปว่าแบรนด์ตัวเอง หรือสินค้าและบริการตัวเองนั้นต้องเป็นที่รู้จักในหมู่ผู้คนอย่างมาก ซึ่งเอาเข้าจริงแล้วอาจจะไม่มีใครรู้จักคุณ หรือไม่รู้ว่าคุณมีผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการอะไรเลย ดังนั้นการส่งอีเมล์ที่ดี ต้องหยุดคิดว่าคนน่าจะเข้าใจหรือรู้จักอยู่แล้ว แล้วเริ่มให้รายละเอียดของข้อมูลต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นไปอีก
4. ส่งมาโดยไร้จุดหมาย : ปัญหาอีกรูปแบบหนึ่งของการทำ E-mail Marketing คือการที่อยู่ดี ๆ ก็ส่งอีเมล์ออกมาผู้รับ โดยไม่ได้มีจุดหมายว่าอยากจะให้ทำอะไร หรือยากจะสื่อสารอะไร ซึ่งอีเมล์พวกนี้จะขายส่วนที่เรียกว่า Pitch Ideas เข้าไป ทำให้ผู้อ่าน E-mail อ่านแล้วจะรู้สึกเหมือนประโยคบอกเล่าแล้วจบลงไป โดยไม่รู้ว่าผลประโยชน์ตัวเองที่จะได้จากการอ่านอีเมล์นี้คืออะไร และถ้าสนใจะต้องทำอย่างไรต่อ ซึ่งความผิดพลาดนี้สามารถแก้ไขได้ง่ายอย่างมาก โดยการต้องตกตะกอนว่าสุดท้ายแล้วเราอยากจะนำเสนออะไร และมอบประโยชน์อย่างไรให้ผู้อ่าน พร้อมแนบ Call To Action เข้าไปในอีเมล์
5. ส่งอีเมล์ตามออกมาเยอะเกินไป : ปัญหานี้เป็นปัญหาของการทำ E-mail Marketing ที่คลาสสิกมาก ๆ เพราะเกิดจากการที่ผู้อ่านไม่เปิดอ่านอีเมล์ แล้วทำให้นักการตลาดต้องส่งอีเมล์นั้นไปตามหลาย ๆ รอบ สิ่งที่เกิดขึ้นมาคือการที่ผู้รับจะเกิดความรำคาญอย่างมากในการส่งอีเมล์แบบนี้ ถ้าไม่สนใจในอีเมล์แรก หรืออีเมล์ที่สองที่ส่งมา ก็ไม่ควรส่งอีเมล์ต่อมาอีกต่อไป เพราะยิ่งส่งอีเมล์ออกมาจะทำให้เกิดความรู้สึกไม่ดีและเปลี่ยนชุดอีเมล์ของเรานั้นให้กลายเป็น Spam mail ต่อไปได้ ดังนั้นการเข้าใจ Limit ของการส่งนั้นจึงสำคัญว่า ควรจะส่งกี่อีเมล์ต่อหนึ่งคน หรือไม่ควรส่งอีเมล์ตามให้อ่านอีกกี่ครั้ง เพื่อทำให้การทำการตลาดผ่าน E-mail Marketing นั้นยังคงได้ผลอยู่