ศึก Video live app : Meerkat VS Periscope ใครดีกว่าใครกัน

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

ในการแข่งขันเรื่อง Video Content และ Video Platform นอกเหนือจาก Facebook และ Youtube แล้วละก็มี Platform หนึ่งที่กำลังมาแรงเป็นที่น่าสนใจในอเมริกาตอนนี้คิอ การแข่งขันระหว่าง Platform video live streaming app ระหว่าง ๆ 2 ที่คือ Meerkat และ Periscope (Twitter) ซึ่งทั้งคู่กำลังแข่งกันว่าใครจะได้กลายเป็นเจ้าของ Platform video live streaming ในที่สุด

การแข่งขันของ Platfrom ที่เกิดใหม่เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในการแข่งขัน ในอดีตนั้นเมื่อตอนที่เรื่อง Geolocation เกิดขึ้นใหม่ ๆ แอพ Gowalla นั้นเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับ Foursquare แต่ในที่สุดแล้วผู้บริโภคนั้นก็เลือก Foursquare แทน Gowalla และทำให้ Gowalla นั้นต้องยุติการให้บริการลงไป มาในทุกวันนี้ในยุคที่คนใช้มือถือนั้นมีอัตราการใช้สูงมาก และกลายเป็นเครื่องมือที่เป็นเครืองมือหลักในการปฏิสัมพันธ์โลกออนไลน์มากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบกับการที่วิดีโอนั้นกลายเป็นสื่อที่คนปฏิสัมพัธ์มาที่สุดและเป็นกระแสที่มาแรง ทำให้เราจึงเห็นการทำ Video Content ขึ้นมากมาย และทำให้เกิด App ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง Video Content มากมาย หนึ่งในคือ Meerkat ที่เกิดขึ้นก่อน

Screen Shot 2558-08-02 at 5.50.32 PM

Meerkat นั้นเกิดขึ้นจาก Ben Rubin ที่เคยทำ Yevvo ซึ่งเป็น video startups เช่นกันและยุติการให้บริการในธันวาคมปี 2013 และเปิดตัว app ใหม่ที่มีชื่อว่า Meerkat ที่จะทำหน้าที่ถ่ายทอดวิดีโอไปยังคนที่ติดตาม Twitter ของผู้เล่น เมื่อเปิดตัว Meerkat ทำงานได้ง่ายมาด้วยการให้ผู้ใช้สามารถ Stream Video ได้เลยทันที หรือจะเอา Video Stream ภายหลังก็ได้ ซึ่งเมื่อเปิดตัวนั้นก็กลายเป็นกระแสใน Twitter ทันที ทำให้ในสัปดาห์แรกนั้น Meerkat มีคนใช้กว่า 28,000 คน และมีกว่า 18,000 คนที่ดูวิดีโอ Streaming อย่างน้อยหนึ่งวิดีโอ และตัวเลขนี้เพิ่มเป็น 100% ภายใน 1 วัน คนใช้ Meerkat 1 ใน 3 จะดูวิดีโอที่สตรีมมามากกว่า 2 ชั่วโมงขึ้นไปอีกด้วย ซึ่งจุดที่ทำให้ Meerkat นั้นประสบความสำเร็จนั้นมาจากการที่ทำให้การถ่ายทอดสดผ่านวิดีโอนั้นถูกประกาศไปยัง Twitter ทำให้คนนั้นสามารถติดตามและรับรู้ได้ และยังเป็นเครื่องมือในการสร้าง Content ชั้นดีกับคนสร้าง Content ที่สามารถปฏสัมพันธ์กับคนที่ดูได้โดยตรงโดยมี Twitter เป็นตัวกลางอีกด้วย ซึ่ง Meerket นั้นเปิดตัวเป็นทางการในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2015 ซึ่งตอนนี้มีผู้ใช้จำนวนมากที่ใช้ Video Streaming ของ Meerkat แล้ว

meerkat

จากการมาของ Meerkat ทำให้เซเลปในอเมริกาก็ลงมาใช้แอพนี้ กับคนทำสื่อทั้งหลาย เพราะสามารถถ่ายทอดเหตุการณ์ที่อยากให้เห็นสด ๆ ตรงหน้าได้และเป็นการสร้างกระแสสำหรับคนสร้าง Content ที่ดีให้กับตัวเองอีกด้วย ทำให้ Twitter ที่เป็น Platform กลางนั้นเล็งเห็นว่า Platform ตัวเองนั้นขาดการทำ Video Streaming ไป จึงได้เข้าไปคุยกับบริษัท Periscope ที่ทำ Video Streaming เช่นกัน Periscope นั้นได้รับการพัฒนามาตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2014 และถูก Twitter ซื้อไปในปี 2015  และหลังการเข้าซื้อเพื่อเสริมกำลังทัพการทำ content ของ Twitter  ทำให้จึงเกิดการแข่งขันระหว่าง Meerkat กับ Periscope กันทันที

periscopeios

แต่บทเรียนจาก Gowalla และ 4SQ นั้นให้การเรียนรู้แล้วว่าใครมาก่อนนั้นไม่สำคัญ แต่ขึ้นอยู่กับว่าใครจะสามารถครอบครองความสนใจและทำให้ผู้บริโภคมาใช้ได้มากกว่ากัน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบ Platform ระหว่าง Meerkat กับ Periscope นั้นก็มีข้อดีข้อเสียต่างกัน

  1. Design Periscope นั้นดีกว่าและสะอาดกว่า Meerkat แต่การใช้งาน Meerkat นั้นคล้ายกับ Snapchat ที่วัยรุ่นอเมริกานั้นใช้กันจำนวนมากมายอยู่แล้ว
  2. Meerkat นั้นไม่มีการเก็บวิดีโอเก่า ๆ ไว้ แต่ Periscope นั้นเก็บวิดีโอเก่า ๆ ไว้ ทำให้การติดตามผ่าน Periscope นั้นง่ายกว่า นอกจากนี้การค้นหาหรือดูวิดีโอจากทั่วโลกนั้น Periscope ยังทำได้ดีกว่า Meerkat
  3. ทั้ง Meerkat และ Periscope นั้นต่างได้คนดังมาเล่น Platform ตัวเองทั้งคู่ และได้รับการสนับนุนจากสื่อมากมายพอ ๆ กัน แม้ว่า Periscope จะมีคนดังเล่นมากกว่าเพราะเป็น Native app ของ Twitter แต่ดาราบางคนหรือคนดังบางคน คนที่อยากจะดู Livestream นี้ต้องเข้าผ่านที่ Meerkat ที่เดียว

httpv://www.youtube.com/watch?v=ognHFUnar3o

จากการแข่งขันภายในปี 2015 ทำให้ Meerkat นั้นออกส่วนเสริมหรือบริการเสริมออกมามากมายเพื่อให้แข่งกับ Periscope แล้วเอาชนะได้ ทั้งนี้จากการติดตามล่าสุดของบริษัท Wayin พบว่าตอนนี้ Periscope นั้นได้รับความนิยมมากกว่า Meerkat แต่ไม่มาก

ภาพจาก Adweek
ภาพจาก Adweek

แล้วจากการแข่งขันนี้นักการตลาดจะได้อะไร และใช้งานกับการตลาดอย่างไรดี 

1ygygXq_mzhQqGc2klyYOjpnMGFpR02KfHBRLN_GxNk5vnF8LFGt1nF7i8EIyvAO

ในตอนนี้ในอเมริกาเองนั้นก็มีหลายแบรนด์ที่ลงไปใช้ก่อน และสร้างแบรนด์ตัวเองผ่าน Platform ทั้งคู่นี้ ตัวอย่างเช่นเช่น RedBull ทำการถ่ายทอดกิจกรรมตัวเองที่มีชื่อว่า Guesthouse ผ่าน Periscope หรือแบรนด์อย่าง addidas ที่ถ่ายทอด James Rodriguez ขณะเซนต์สัญญากับ Addidas ผ่าน Periscope เช่นกัน และในตอนนี้แม้ว่าทั้ง 2 platform นั้นยังไม่ได้เป็นที่นิยมในประเทศไทย ทำให้เป็นโอกาสอันดีที่จะได้เรียนรู้และรอว่า Platform ใดจะชนะ ก่อนที่จะใช้เพื่อทำการตลาดของตัวเอง ซึ่งถ้าจะใช้ทำการตลาดนั้นจะสามารถใช้อย่างไรได้ นั้นคือ

  1.  การใช้ถ่ายทอดสดการเปิดตัวสินค้าใหม่ ผ่าน Social แบบ Livestream
  2. การทำ Live interview กับแฟน ๆ หรือการทำ Live Q&A ขึ้นมาได้
  3. การใช้เซเลปมาเป็นคนถ่ายทอดสดเพื่อสร้างกระแสขึ้นมา
  4. การใช้เพื่อสร้างกระแส โดยการให้เห็นเบื้องหลัง หรือ unseen ต่าง ๆ
  5. ใช้เพื่อสร้างสัมพันธ์กับคนและสร้างแบรนด์บน Twitter

ตอนนี้ Video Content นั้นกำลังเป็นกระแสที่แรง และการที่ต้องอินเทรนด์ก่อนใครกลายเป้นเรื่องสำคัญเช่นกัน จะเห็นได้ว่าเหตุการณ์ดาราในไทยที่คนอยากรู้มาก ๆ และตอนนั้นเลย การที่ใช้ App Livestream แบบนี้ก็สามารถเข้ามาตอบโจทย์ได้ นักการตลาดคนใดสนใจก็ลองเทสดูก่อนได้เลย

 

 


  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ