หลายบริษัทประสบปัญหาเกี่ยวกับข้อมูล ข้อมูลของแต่ละฝ่ายกระจัดกระจายและไม่เป็นมาตรฐาน ทั้งๆที่จริงธรรมชาติของข้อมูลเอง “ไม่มีขอบเขต” ไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่แต่ในฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ในที่สุดการเอาข้อมูลของใครของมันไปใช้ อาจทำให้พัฒนาสินค้าและบริการที่ล้าสมัยไม่ตอบโจทย์ลูกค้าอีกแล้ว ต่อให้บริษัทมี AI มีระบบที่ดีที่สุด แต่ถ้าข้อมูลของแต่ละฝ่ายไม่ครบถ้วน ไม่มีมาตรฐาน ไม่อัพเดท ก็ไม่มีประโยชน์
5 ข้อต่อไปนี้สามารถเอาไปคิดต่อเพื่อเปลี่ยนธุรกิจของเราเป็น AI Company ได้
1. มีเป้าหมายและแผนการต้องชัดเจนสำหรับคนทั้งองค์กร
ไม่ว่าจะเปลี่ยนโครงสร้างภายในบริษัท วัฒนธรรม หรือวิธีการทำงาน เมื่อพนักงานยึดเป้าหมายและกลยุทธ์ที่ชัดเจน ทำให้พนักงานแต่ละฝ่ายในช่วงแรก สามารถร่วมมือกันทำงาน สื่อสารไปในทางเดียวกัน ไม่ใช่ต่างฝ่ายต่างมีเป้าหมายของใครของมัน ไม่ว่าจะมาจากฝ่ายการตลาด การเงิน HR IT ฝ่ายสินค้า กฎหมาย ฯลฯ เพื่อเอาข้อมูลไปรวมที่จุดศูนย์กลางที่เดียวของธุรกิจ จนกลายเป็นข้อมูลมาตรฐานชุดเดียวที่พนักงานทั้งองค์กรสามารถเอาไปใช้ได้เลย
2. ชัดเจนในมาตรฐานรักษาข้อมูลของบริษัท
เพราะข้อมูลที่กระจัดการจาย ทำให้แต่ละฝ่ายได้ข้อมูลที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่ทันสมัยแล้ว ยังทำให้ตัวองค์กรเองมีปัญหาด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและความปลอดภัย ถ้าข้อมูลกระจัดกระจาย รวมเป็นศูนย์กลางไม่ได้ อย่างน้อยต้องชัดเจนว่าข้อมูลที่เราต้องการเรียกดูและใช้งานอยู่ที่ไหน มีนโยบายปกป้องข้อมูลชัดเจน มีมาตรฐานในการเก็บรักษาข้อมูลดีพอให้ทุกฝ่ายเอาไปใช้ได้
แต่ดีที่สุดในระยะยาวคือข้อมูลจากทุกฝ่ายต้องอยู่ที่ศูนย์กลางเดียว ให้ทุกฝ่ายเข้าถึงใช้ได้ที่ไหนก็ได้ เมื่อไหร่ก็ได้ ข้อมูลมีมาตรฐาน ชุดเดียวกันทั้งหมดจะดีที่สุด เพราะปัญหาของฝ่าย IT ก็เหมือนฝ่ายอื่นอย่างหนึ่งคือมีวามเป็น Silo พวกใครพวกมัน ข้อมูลเลยกระจัดกระจายและไม่ได้มาตรฐาน นวัตกรรมสิ่งใหม่ๆก็เกิดขึ้นยาก
3. เป็นองค์กรที่เน้นการพัฒนาสินค้า
พูดง่ายๆคือกิจกรรมในบริษัทที่สามารถให้ซอฟท์แวร์หรืออัลกอริธึ่มทำงานได้ก็ควรให้มันทำ ฉะนั้นตัวพนักงานในองค์กรเองจะต้องปรับวิธีคิดใหม่หมด รู้ว่าอะไรที่ควรให้ระบบฯมันทำแทนเรา อะไรที่เราควรทำเอง อย่างน้อยเราต้องรู้จักการตั้งค่าแอปพลิเคชั่นเพื่อให้ระบบฯทำงานแทน ตัวซอฟท์แวร์นี่แหละจะกลายเป็นโมเดลระบบปฏิบัติการที่เป็นมาตรฐานทั้งองค์กร
ไม่เพียงเท่านั้น เพราะในเมื่อวิธีการทำงานเปลี่ยนไป พนักงานควรปรับวิธีคิดในเรื่องของการแต่งตัว การให้รางวัลแก่พนักงาน การจ้างงาน การให้ผลตอบแทนด้วย
4. คิดถึงทักษะและความสามารถที่จำเป็นสำหรับ AI Company
ทักษะด้านซอฟท์แวร์ Data Science และพวก Analytics ขั้นสูง กลายเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับ AI Company รวมถึงทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลลเพื่อเอาไปพัฒนาสินค้าและบริการ ฉะนั้นบริษัทต้องคิดถึงเส้นทางอาชีพและระบบสวัสดิการและแรงจูงใจให้เหมาะสมกับพนักงานที่มีทักษะที่ว่า บอกตรงๆว่าคนที่มีทักษะดังกล่าวกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน หากเสียพนักงานพวกนี้ไป เป้าหมายของการเป็น AI Company ก็ลำบาก
ส่วนทักษะทางด้านธุรกิจก็ยังจำเป็นอยู่ พนักงานที่มีทักษะพวกนี้จะมองออกว่าบริษัทสามารถพัฒนาแอปพลิเคชั่นอะไรที่ตอบโจทย์ทั้งตลาดลและบริษัท
5. ส่งเสริมให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการบริษัท
ไม่เว้นแม้แต่ฝ่ายกฎหมายและฝ่ายนโยบายของบริษัท เพราะในเมื่อบริษัทต้องการเป็น AI Company สิ่งที่ตามมาคือการใช้ AI หรือระบบอัตโนมัติอาจผิดกฎหมายก็ได้ ชัดๆคือความเป็นส่วนตัวของบุคคลผู้เป็นเจ้าของข้อมูล เรื่องของ Cybersecurity พวกนี้เป็นอุปสรรคของการเปลี่ยนบริษัทเป็น AI Company ทั้งนั้น
การดึงความร่วมมือจากทุกฝ่ายไม่ใช่แค่ในบริษัท แต่ยังเป็นคนนอกบริษัทได้ด้วย การที่มีกลุ่มลูกค้าหรือผู้มีส่วนได้เสียมาช่วยกันตรวจสอบระบบ ก็ทำให้บริษัทมีเครือข่ายผู้ใช้งานมากขึ้น ข้อมูลมากขึ้น พัฒนาสินค้าและบริการได้ดีขึ้นโดยไม่ผิดกฎหมาย
Microsoft เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน สมัยที่ Microsoft เสียพวก Developer พนักงานที่เก่งเรื่องเทคโนโลยีไป เพราะแพ้คู่แข่ง ทำให้ต้องกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์ใหม่ว่า Microsoft จะต้องเป็นบริษัทเทคฯที่ทำให้ทุกคนและทุกองค์กรบนโลกนี้ประสบความสำเร็จยิ่งกว่าเดิม
และด้วยเป้าหมายใหม่ของ Microsoft ทำให้เกิดกลยุทธ์ที่มีสินค้าออกตามมา ไม่ว่าจะเป็น Office 365, MS Dynamics บริการต่างๆจาก Azure กลายเป็นแพลตฟอร์มเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานในยุค AI จากนั้น Microsoft ก็เปิด Open Source ให้บุคคลภายนอกเอาระบบของ Microsoft นั้นไปพัฒนาต่อ ข้อมูลการใช้งานก็ถูกรวมเข้าไปในระบบคลาวน์
ทำให้ Microsoft เป็นผู้นำบริการคลาวน์ไปในตัว
แหล่งอ้างอิงส่วนหนึ่งมาจาก Becoming an AI Company โดย Marco Iansiti และ Karim R. Lakhani จากหนังสือ Competing in the Age of AI