
COVID-19 โรคระบาดที่ทำให้ธุรกิจนั้นต้องเกิดความยากลำบากขึ้นมาหลายๆธุรกิจต่างต้องหาทางเอาตัวรอดหรือคนที่สู้ไม่ไหวก็ต่างต้องปิดกิจการต่างๆลงแบรนด์ที่เอาตัวรอดมาได้ต่างก็มีวิธีเอาตัวรอดต่างๆกันไม่ว่าจะเป็นการลดราคาสินค้าและบริการการลดขนาดองค์กรลงหรือการเปลี่ยนไปทำอย่างอื่นแทนเพื่อที่จะทำให้สามารถอยู่รอดได้ในช่วงเวลาโรคระบาดที่ผ่านมาแต่มีแบรนด์หนึ่งที่ใช้วิธีการที่ต่างออกไปนั้นคือ Oreo
Oreo นั้นเป็นแบรนด์ขนมที่ทุกคนรู้จักกันดีใน concept ที่ว่าบิดชิมครีมจุ่มนมแต่ในช่วงเวลา COVID-19 ที่ผ่านมานั้นแบรนด์ Oreo เองก็เจอกับภาวะที่ยากลำบากในการเอาตัวรอดต่างๆเช่นกันแต่สิ่งที่ Oreo ทำนั้นแตกต่างจากแบรนด์อื่นอย่างมากด้วยความเข้าใจของกลุ่มเป้าหมายของ Oreo ที่ช่วงเวลาปกติของกลุ่มเป้าหมายนั้นก็มีความเครียดอยู่ทุกวันอยู่แล้วและมีความน่าเบื่อในชีวิตประจำวันแล้วยิ่ง COVID-19 เข้ามายิ่งทำให้คนมีความเครียดเพิ่มมากขึ้นเข้าไปอีกแถมพอต้องกักตัวอยู่กับบ้านทำให้ความน่าเบื่อเข้ามาครอบครองได้อย่างมากมาย
กลยุทธ์ที่เอาตัวรอดของ Oreo นั้นง่ายมากจากการที่เข้าใจความน่าเบื่อและความเครียดของกลุ่มเป้าหมายในช่วงเวลา COVID-19 นั้นคือการออกรสชาติใหม่ๆออกมาอย่างต่อเนื่องนั้นเองสิ่งที่ Oreo ทำนั้นเรียกได้ว่าเป็นผลจากสิ่งที่เรียกว่าflywheel effect ที่ทำให้เกิดการสร้าง Momentum อย่างต่อเนื่องขึ้นมานั้นเอง
flywheel effect เป็นหลักการที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย James C. Collins ในหนังสือ Good to Great ว่าด้วยการที่คนหรือแบรนด์ที่จะยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้นั้น ไม่ได้เกิดจากเหตุการณ์แค่ครั้งเดียว แต่เกิดจากความพยายามหลาย ๆ ครั้งที่สะสมกัน โดยการที่พยายามครั้งแล้ว ครั้งเล่า โดยไม่ย่อท้อต่อความล้มเหลว หรือการไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่คาดหวังไว้ ซึ่งความพยายามนี้เหมือนการผลักวงล้อด้วยการผลักครั้งแล้วครั้งเล่า จนวงล้อนั้นหมุนจนเกิด Momentum ที่เร็วและแรงมากขึ้นทำให้บริษัทเมื่อมีแรงส่งจากการเดินหน้าครั้งแล้วครั้งเล่าก็สามารถเติบโตได้อย่างทันที
ส่ิงที่ Oreo ใช้กับflywheel effect นั้นคือการที่ Oreo ไม่ย่อท้อต่อการออกรสชาติใหม่ ๆ ออกมา เมื่อว่าบริษัทจะตั้งมาตั้งแต่ 1912 แต่ก็มีรสใหม่ ๆ ออกมาเรื่อย ๆ จนเป็นเวลา 100 ปี สามารถอยู่รอดวิกฤตต่าง ๆ มาได้อย่างมากมาย และยิ่งใน COVID-19 นี้ Oreo กลับออกรสชาติใหม่มากกว่า 65 รสชาติออกมา เพราะเข้าใจกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการคลายเครียด และแก้ความเบื่อในช่วงโรคระบาดนี้ออกมา จาก 65 รสชาตินี้ ต้องมีสักรสที่โดนกลุ่มเป้าหมายของแต่ละคนที่มีความชอบต่างกันออกมา เพราะ Oreo ออกรสมาตั้งแต่ Hot Chicken Wing, Wasabi, Tiramisù และ Carrot Cake ด้วยการออกมารสใหม่ ๆ มาแบบนี้ทำให้กลุ่มเป้าหมายนั้นไม่เบื่อ และไม่รู้สึกว่าแบรนด์นั้นมีแค่ Oreo รสเดียว แถมการออกรสใหม่ ๆ กลับทำให้รสดั้งเดิมนั้นขายดีขึ้นเพราะทำให้กลุ่มเป้าหมายคิดถึงรสชาติเดิม ๆ ของ Oreo อีกด้วย ผลที่ได้ออกมานั้นคือ รสดั้งเดิมนั้นกลับขายดีขึ้น จากการที่มีรสใหม่ ๆ ออกมา
ด้วยการใช้flywheel effect นี้สิ่งที่ Oreo ทำให้เกิดยอดขายเพิ่มขึ้นของรสดั้งเดิมกว่า 22% การพยายามของ Oreo นั้นเห็นผลอย่างมาก ด้วยการออกรสใหม่ ๆ ทำให้เกิดโมเมนตัมของแบรนด์ในกระแส ที่ทำให้ผลักวงล้อของความสำเร็จนั้นเพิ่มขึ้นและเร็วขึ้น ทำให้เมื่อถึงจังหวะที่เหมาะสม ก็ทำให้แบรนด์สามารถติดลมบนหรือสร้างยอดขายได้อย่างต่อเนื่องขึ้นมา นอกจากนี้เพื่อต้องรักษาโมเมนตัมนั้นไว้ การผลักวงล้อความสำเร็จเรื่อย ๆ ด้วยการออกรสใหม่ ๆ ออกมาก็ยังจำเป็นต้องทำต่อไป
แบรนด์ Oreo ไม่ใช่แบรนด์เดียวที่ใช้หลักการ Flywheel นี้ในการสร้างแบรนด์ออกมาแต่ก็มีแบรนด์อย่าง Amazon ที่ใช้หลักการนี้ในการตั้งราคาที่ต่ำและสร้าง Traffic ให้คนเข้ามาอย่างต่อเนื่องจนทำให้ Traffic แบรนด์นั้นเกิดขึ้นอย่างมากมายมหาศาลขึ้นมาด้วยความพยายามที่ทำให้ Traffic นั้นเพิ่มมากขึ้นก็นำไปสู่ยอดขายที่เพิ่มมากขึ้นของ Amazon ขึ้นมาได้และดึงดูดให้ผู้ขายหน้าใหม่ๆเข้ามายัง Platform ของ Amazon อย่างต่อเนื่องและเมื่อมีผู้ขายมากขึ้นก็ทำให้ Amazon มีสินค้ามากขึ้นไปอีกทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างร้านต่างๆเข้ามาทำกลยุทธ์แคมเปญลดราคาแข่งขันจนทำให้ดึงดูดคนซื้อเข้ามา Traffic เพิ่มขึ้นยอดขายเพิ่มขึ้นและดึงดูดร้านใหม่ๆเข้ามาเกิดการหมุนวงล้อนี้อย่างต่อเนื่องไปอีก
ด้วยความเข้าใจ flywheel effect ที่สามารถใช้ได้อย่างดีไม่ว่าจะเป็นบริษัทที่มีอายุกว่า 100 ปีอย่าง Oreo หรือบริษัทเทคโนโลยีเกิดใหม่อย่าง Amazon นั้นก็ใช้ได้อย่างดีดังนั้นการที่คุณและบริษัทคุณอยากเติบโตนั้นคือการที่คุณนั้นต้องพยายามอย่างต่อเนื่องและผลักดันวงล้อนั้นอย่างต่อเนื่องเมื่อติดลมบนแล้วสิ่งที่คุณต้องทำคือการรักษา Momentum ของ Flywheel นั้นไว้เพื่อให้บริษัทและตัวคุณยิ่งใหญ่ขึ้นนั้นเอง