9 หลักการทางจิตวิทยาที่สามารถนำมาใช้กับ Digital Marketing ได้

  • 1.7K
  •  
  •  
  •  
  •  

การทำ Digital Marketing นั้นมีการแข่งขันกันสูงมากในทุกวันนี้ แถมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายและรวดเร็วในทุก ๆ วัน เนื่องจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ออกมาทุก ๆ เดือน รวมทั้งการปรับเปลี่ยนกฏเกณฑ์ของ Platform ต่าง ๆ จนถึงการอัพเดทฟีเจอร์ใหม่ ๆ ขึ้นมาด้วย ทำให้นักการตลาดที่ทำงานบนดิจิทัลนั้นต่างต้องมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อที่จะสามารถรักษาการตลาดของตัวเองบนพื้นที่ดิจิทัลนี้ได้จากคู่แข่งที่อยู่ตลาดนั้นเอง

Screen Shot 2561-10-26 at 22.19.32

ทั้งนี้ Digital Marketing นั้นก็ไม่ต่างอะไรกับ Marketing ที่นักการตลาดต้องเปลรี่ยนกลุ่มเป้าหมายให้กลายมาเป็นลูกค้าของตัวเองให้ได้ ซึ่งการที่จะสามารถสร้างลูกค้าได้แบบนี้ต้องใช้กลไกหลาย ๆ อย่างและกลไกอย่างหนึ่งที่นักการตลาดควรจะรู้คือจิตวิทยาของผู้บริโภค ที่จะสามารถชักนำให้ผู้บริโภคหันมาตัดสินใจเลือกแบรนด์ของนักการตลาดได้ โดยที่นักการตลาดนั้นต้องเข้าใจว่าสมองนั้นทำงานอย่างไรในการสร้างพฤติกรรมหรือการตัดสินใจในความคิดต่าง ๆ ออกมา เพื่อที่จะสามารถดักทางกลไกเหล่านี้ได้ ด้วยการที่วิธีการจิตวิทยานี้ใช้กันในการตลาด ดังนั้นหลักการจิตวิทยาเหล่านี้จึงสามารถมาประยุกต์ใช้ได้กับการทำ Digital Marketing อีกด้วย ซึ่งวันนี้เราจะมารู้จัก 9 กลไกทางจิตวิทยาที่นำมาช่วยในการทำ Digital Marketing ได้

1. Isolation Effect : คือปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาที่มนุษย์จะมีความสนใจสิ่งหนึ่ง สิ่งใดเป็นพิเศษ ถ้าสิ่งนั้นมีความโดดเด่นมากกว่าสิ่งอื่น ๆ รอบตัว ซึ่งนักการตลาดสามารถเอามาใช้ในการตลาดเช่น ทำปุ่ม CTA ให้มีความโดดเด่นเหนือพื้นที่อื่นในเว็บไซต์ หรือการไฮไลท์เปลี่ยนสี/ทำให้มีความใหญ่ เพื่อให้มีความเด่นมากกว่าเนื้อหาอื่น ๆ ขึ้นมา สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นจุดสนใจมากขึ้นไปกว่าเนื้อหาอื่น ๆ ทันทีในสมอง

1*HaijIHohLCKdcmw_H73QZA

2. Anchoring Effect : คือการสร้างการชักนำในการตัดสินใจด้วยการให้ข้อมูลเบื้องต้นในการเปรียบเทียบตัดสินใจ โดยนักการตลาดสามารถนำหลักการนี้มาออกแบบตัวเลือกที่อยากให้ผู้บริโภคเลือกได้โดยการเอาตัวเลือกที่แย่กว่ามาให้ดูในตอนแรก เพื่อให้เลือกตัวเลือกที่ต้องการออกมาได้ เช่นโชว์ราคาที่แพงขึ้นกับราคาที่ถูกแล้วไม่คุ้มในการซื้อ

15043960-31741460-1-0-1499863607-1499863618-650-1-1499863618-650-1ba619604e-1499875168

3. Social Proof : เนื่องจากมนุษย์นั้นเป็นสัตว์สังคมและกลัวการที่จะไปเผชิญความไม่แน่นอนหรืออันตราย ทำให้หลาย ๆ ครั้งมนุษย์นั้นตัดสินใจจากการกระทำของสังคมว่าส่วนใหญ่เลือกอะไร ซึ่งนักการตลาดสามารถนำข้อนี้มาใช้ในการบอกว่า มีกี่คนเลือกในสินค้าและบริการนี้แล้ว หรือมีเพื่อน ๆ ของผู้บริโภคใช้สินค้าและบริการนี้ไปเท่าไหร่แล้ว จนถึงการใช้ผู้เชี่ยวชาญมาบอกว่าสินค้าและบริการนี้ดีอย่างไร

Social-Proof-640x355

4. Loss Aversion : เป็นอารมณ์ของมนุษย์ในการที่กลัวจะพลาดบางสิ่งบางอย่างไปได้ ถ้าไม่ได้ลงมือกระทำ ซึ่งนักการตลาดสามารถเอาหลักการนี้มาใช้ในการออกแบบตัวเลือกที่มีการบอกว่าราคานี้จะหมดภายในเวลาเท่าไหร่ โดยการนับถอยหลัง หรือส่งข้อความเตือนบอกว่าสินค้าและบริการที่ดูตอนนี้กำลังจะหมดไปแล้ว ทำให้ผู้รับจะเกิดความกลัวว่าจะพลาดจนต้องมาซื้อสินค้าและบริการ

loss-aversion-discount-website-deals

5. Instant Gratification : คือการเสนอผลประโยชน์ทันทีให้กับผู้บริโภคในการทำอะไรบางอย่างโดยไม่มีขั้นตอนให้ยุ่งยาก เพราะว่าถ้ายิ่งช้าผู้บริโภคนั้นอาจจะเปลี่ยนใจ ดังนั้นนักการตลาดสามารถนำหลักการนี้มาออกแบบขั้นตอนต่าง ๆ ใ้มีความสั้นที่สุดเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถจ่ายเงินได้อย่างรวดเร็ว หรือการใส่รูปภาพประกอบก็ทำให้ผู้บริโภคอ่านเนื้อหาต่าง ๆ ได้เร็วมากขึ้นไปอีก

one-click-amazon

6. Reciprocity : คือหลักการทางจิตวิทยาที่เวลาได้รับสิ่งใดมา จะรู้สึกว่าต้องให้อะไรตอบแทนกลับไป ทำให้นักการตลาดสามารถออกแบบการตลาดที่จะทำการแลกเปลี่ยนอะไรบางอย่างกับผู้บริโภคได้เช่น การได้รับตัวอย่าง ถ้ายอมให้ข้อมูลส่วนตัว หรือ ถ้ายอมกรอกแบบฟอร์ม จะได้รับสิทธิพิเศษอะไรบางอย่างไป

Screen Shot 2561-10-26 at 22.27.09

7. Grounded Cognition : เป็นหลักการทางจิตวิทยาที่ถ้าสามารถให้ประสบการณ์ที่ถูกคน ถูกที่ ถูกเวลาและจริงใจ โปร่งใส ย่อมทำให้คนนั้นติดตามเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งนักการตลาดสามารถนำมาออกแบบเนื้อหาของตัวเองให้เหมาะกับ consumer แต่ละแบบในแต่ละช่วงของ consumer journey ได้หรือการทำ Personalised E-mail ขึ้นมาก็สามารถทำให้คนนั้นรู้สึกดีแล้วติดตามได้ขึ้นมา

8. The Primary Effect : เป็นการที่สมองมนุษย์นั้นต้องการการเรียบเรียงต่าง ๆ ให้มีความถูกต้อง จากความสำคัญมากไปยังความสำคัญน้อย หรือเรียงตามลำดับ เพื่อไม่ให้สมองทำงานหนักและสับสน ดังนั้นนักการตลาดสามารถเอาหลักการนี้มาใช้ในการทำ Keyword SEO หรือ Meta description เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคนั้นจดจำเนื้อหาที่นักการตลาดต้องการจะสื่อสารต่าง ๆ ได้ง่ายมากขึ้น

9. Commitment และ Consistency : การทำอะไรตามสัญญาและมีความต่อเนื่องจะช่วยสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจต่อมนุษย์ได้ขึ้นมา ซึ่งนักการตลาดสามารถเอาหลักการนี้มาใช้ในการสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าได้ โดยการสัญญาที่ทำง่าย ๆ ในจุดเริ่มต้นแล้วรักษาในการกระทำสัญญานั้น เพื่อสร้างจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ และเพิ่มหรือขยายสัญญาต่างๆ ให้มากขึ้นเพื่อสร้างสัมพันธ์เชิงลึกขึ้นมาได้


  • 1.7K
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ