คิดไม่ออก บอกไม่ถูก ลองใช้กระบวนการ Crowdsourcing สิ

  • 281
  •  
  •  
  •  
  •  

การทำการตลาดนั้นมีความสำคัญที่ต้องเข้าใจความต้องการของผู้บริโภค หรือต้องรู้ว่าผู้บริโภคนั้นกำลังมีปัญหาอะไร จึงจะสามารถสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการที่จะมาช่วยให้ผู้บริโภคนั้นสามารถแก้ปัญหาหรือใช้ชีวิตให้ดีขึ้นได้ แต่การทำ Consumer Survey หรือการทำ Focus Group นั้นอาจจะเป็นเรื่องเสียเวลาและเสียงบประมาณมากก็ได้ แถมสุดท้ายอาจจะไม่ได้ไอเดียทางการตลาดที่ดีก็ได้ ซึ่งวิธีหนึ่งที่คนทำการตลาดยังไม่ค่อยใช้กัน แต่วงการเทคโนโลยีนิยมใช้กันคือวิธีการที่เรียกว่า Crowdsourcing

crowdsourcingusing-the-crowd-as-an-innovative-partner-4-638

Crowdsourcing นั้นเป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่ใช้พลังความคิดของกลุ่มคนจากสาธารณะที่ไม่เกี่ยวข้องกับแบรนด์หรือองค์กรมาร่วมออกไอเดียในการแก้ปัญหาหรือให้ความคิดเห็นในเรื่องที่แบรนด์ต้องการระดมไอเดียออกมาเพื่อทำงานนั้นออกมา กระบวนการ Crowdsourcing นี้เป็นไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่กลับมาฮิตมาขึ้นเพราะอินเทอร์เนต 2.0 คำ Crowdsourcing นั้นเริ่มต้นจริง ๆ เมื่อปี 2005  ซึ่งถ้าจะเปรียบเปรยให้คล้ายที่สุดก็คือการ Brainstorm ร่วมกันของคนสาธารณะ ที่มีพื้นฐานจากหลากหลายอาชีพ มีความเห็นหรือพื้นฐานความคิดที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดความคิดเห็นที่หลากหลายแล้วแบรนด์หรือองค์กรนั้นจะรวบรวมความคิดเห็นนั้นไปวิเคราะห์ว่าอะไรคือสิ่งที่ควรทำต่อไป ข้อดีของการทำ Crowdsourcing นั้นคือการที่สามารถระดมความเห็นได้จากผู้คนที่หลากหลายที่อยากมีส่วนร่วมกับองค์กรหรือแบรนด์เรา ใช้เวลาไม่นานในการรวบรวมความเห็น ได้ปริมาณมากและได้คุณภาพของความเห็น สามารถทำจำนวนเท่าไหร่หรือขยายกิจกรรมนั้นให้ใหญ่ได้ และข้อดีสุดคือการใช้งบประมาณที่ไม่มาก เมื่อเทียบกับวิธีอื่น ๆ

httpv://www.youtube.com/watch?v=v3AnWwux7fU

ตัวอย่างการใช้ Crowdsourcing ในกระบวนการเทคโนโลยีที่ผ่านมาคือการทำ Hackathon ที่ระดมผู้คนมาร่วมตรวจหารู้รั่วซอฟท์แวร์เพื่อทำให้ซอฟท์แวร์หรือโปรแกรมนั้นดีขึ้น หรือการประกวดการเจาะเว็บจากที่ไหน็ได้ในโลกที่ทำให้สามารถปิดรู้รั่วของบริการได้ ถ้าเป็นตัวอย่างแบบผลิตภัณฑ์ขึ้นมาก็คือ Wikipedia ที่เป็นสารานุกรมออนไลน์ ที่มีผู้คนหลากหลายมา ร่วมเขียนเนื้อหาต่าง ๆ ขึ้นไปและกลายเป็นแหล่งอ้างอิงให้กับทุกคนในทุกวันนี้ แทนที่สารานุกรมชื่อดังในอดีตที่มีสำนักพิมพ์ที่น่าเชื่อถือเขียนขึ้นมา หรือการระดมทุนเพื่อสร้างสรรค์โปรเจคมาจากคนที่เห็นด้วยในโครงการนั้น เป็นการเช็คกระแสไปในตัวว่าการทำโปรเจคนั้นออกมาจะมีคนซื้อหรือไม่ซื้อสินค้าและบริการนั้น ๆ อย่าง Kickstarter ซึ่งคนที่ชอบสินค้านั้นต้องจ่ายเงินก่อนที่จะมีสินค้าจริงเกิดขึ้น และก็มีสินค้าที่ประสบความสำเร็จจาก Kickstarter กลายเป็นสินค้าที่กลายเป็นผลิตภัณฑ์และบริษัทจริง ๆ ขึ้นมาขายทั่วโลกก็มี นอกจากตัวอย่างนี้ก็มีตัวอย่างการใช้ระบบ Crowdsourcing นั้นในการทำแคมเปญต่าง ๆ เช่นการประกวดไอเดียอย่างเมืองนอกเองก็มีเว็บไซต์หนังผู้ใหญ่ที่ระดมไอเดียของผู้คนให้มาสร้างสรรค์โฆษณาตัวเอง หรือการประกวดให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างขนมมันฝรั่งทอดอย่างเลย์ในเมืองไทย ที่ได้รสชาติใหม่ๆ  ออกมาขายกันอยู่ช่วงหนึ่ง

httpv://www.youtube.com/watch?v=VW8PmhTcIJk

เมืองนอกเองก็มีบริษัทโฆษณาที่ทำงานแบบ Crowdsourcing เช่นกันชื่อบริษัท Victors & Spoils ที่มีพนักงานประจำเพียงแค่ 17 คน แต่มีคนที่ช่วยออกไอเดียและทำงานแบบ Crowdsourcing อยู่ทั่วโลกกว่า 6,500 คนทั่วโลก ที่เพียงบริษัทนั้นโยนความต้องการลงไป คนที่อยู่ทั่วโลกนี้ก็จะออกไอเดียมาว่าอยากจะเห็นโฆษณาแบบไหนหรือจะทำการตลาดอะไรออกมา ทั้งนี้บริษัทใช้วิธีนี้มากมายทำงานให้กับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น PepsiCo ที่ให้คนมาประกวดไอเดียโฆษณา Doritos กัน หรือการทำงานให้ Harley-Davidson ทั้งนี้เพื่อให้ได้กระบวนการทำ Crowdsourcing ที่ดีนั้นต้องมีอาจจะลองใช้ 5 เคล็ดลับนี้ในการสร้างสรรค์การทำ  Crowdsourcing Marketing ให้เกิดขึ้นมา

httpv://www.youtube.com/watch?v=-LctrdzXbMQ

  1. Brief นั้นต้องเคลียร์ : สิ่งแรกที่ต้องทำให้ชัดก่อนนั้นคือ การที่อยากจะให้ผู้บริโภคหรือสาธารณชนนั้นออกความเห็นอะไร เพราะถ้าไม่สามารถเคลียร์ในสิ่งที่ต้องการได้ เราจะได้ความเห็นหรือไอเดียที่สะเปะสะปะทั้งหมด จนไม่สามารถทำอะไร ยิ่งการทำ Crowdsourcing นี้ไม่มีใครมาตีความความต้องการของคุณ เพราะฉะนั้นการบอกความต้องการใช้ชัดเจนนั้นจึงช่วยให้เกิดทางเดินที่ถูกต้อง ตัวอย่างที่เชฟโรเลตต์อยากให้คนทำวิดีโอรถคันใหม่ ด้วยโจทย์ที่กว้างเกินไปนี้ทำให้คนทำวิดีโอที่โจมตีออกมา บอกว่าต่อไปรถรุ่นนี้จะนิยมเพราะโลกเราร้อนขึ้นจนทุกที่จะต้องใช้รถ 4×4
  2. มีรางวัลอย่างงามให้ : ในภาพยนต์เรื่อง The Dark Knight ตัว Joker ในเรื่องนั้นมีคำพูดนึงคือ ถ้าคุณมีความสามารถก็อย่าทำงานให้ใครฟรี ๆ เพราะฉะนั้นการทำแบบนี้ก็เช่นกัน ไม่มีใครอยากทำงานให้ฟรี ๆ แน่ นอกจากจะชอบแบรนด์นั้นและอยากให้แบรนด์นั้นดีขึ้นจริง ๆ การมีรางวัลล่อใจนั้นเป็นตัวช่วยให้ระดมคนมากมายมาช่วยคุณได้อย่างหนึ่ง
  3. อย่าหวังว่าความคิดจะมาท่วมท้น : ถ้ากิจกรรมหรือโจทย์ของคุณนั้นยากไป หรือไม่ได้เข้ากับความต้องการของผู้บริโภคแล้วละก็ บางทีกิจกรรมนั้นอาจจะมีคนมาร่วมน้อย หรือน้อยมาก เพราะไม่มีใครอยากมานั่งคิดกิจกรรมทางการตลาดให้คุณ การสร้างให้คนนั้นรู้สึกมีส่วนร่วมนั้นสำคัญกว่าในการชวนมาช่วยคิด
  4. เตรียมตัวเมื่อความคิดมาท่วมท้น : การว่าได้ไอเดียน้อยนั้นอาจจะไม่ลำบากเท่าตอนที่ได้ไอเดียถล่มทลายอย่างท่วมท้น ซึ่งทางคนทำ Crowdsourcing เองนั้นก็ต้องเตรียมตัวรับมือด้วยว่าจะตรวจทุกความเห็นได้อย่างไร ซึ่งเอเจนซี่ที่เคยทำนั้นได้เคยบอกว่า การทำ Crowdsourcing นั้นจะได้ไอเดียมากกว่าปกติถึง 10 เท่าขึ้นไป ซึ่งทำให้การมองหาไอเดียที่ใช้นั้นจึงเป็นเรื่องนาก ทั้งนี้ก็มีคนคิดโปรแกรมที่จะช่วยตรวจไอเดียนี้ขึ้นมาเรียกว่า Crowdspring และ PopTent เพื่อช่วยให้การทำ Crowdsourcing นั้นง่ายขึ้น
  5. การใช้ Crowdsourcing ไม่ได้หมายความว่าไม่มืออาชีพ : นักการตลาดหลาย ๆ คนคิดว่าการทำ Crowdsourcing นั้นคือการเอาไอเดียจากคนทั่วไปมาทำ ไม่ได้มีความเป็นมืออาชีพหรือไม่เก่งเท่าผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ คน แต่อย่างลืมว่าคนที่มาทำ Crowdsourcing นั้นมาจากอาชีพที่หลากหลาย และอาจจะมี insight หรือความครีเอทีฟมากกว่าคุณก็ได้ ทำให้คุณสามารถเจอเพชรทางไอเดียที่ไม่เคยคิดจะเจอเลยก็มี ซึ่งกรณีนี้ก็มีงานของ Pepsi ที่ทำไปด้วยการทำ Crowdsourcing ซึ่งคนทำการตลาดบอกว่าไม่มืออาชีพ แต่ปรากฏว่าแคมเปญประสบความสำเร็จมาก เพราะผู้บริโภคชอบมากในการทำแคมเปญแบบนี้

ทั้งนี้กระบวนการทำ Crowdsourcing  เป็นวิธีที่ดีที่จะได้ความเห็นต่าง ๆ จากผู้คนที่หลากหลายที่จะมาช่วยทำให้การตลาดนั้นมีมุมมองที่แตกต่างหรือใหม่ออกไป ใครอยากลองว่าคนนั้นอยากให้แบรนด์เราเป็นอย่างไรต่อไป ก็ลองทำ Crowdsourcing Marketing ดู อาจจะพบทางเดินใหม่ที่ดีขึ้นกว่าเดิมได้


  • 281
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ