New Normal โลกหลัง COVID-19 ธุรกิจไทยจะเปลี่ยนอะไรบ้าง

  • 301
  •  
  •  
  •  
  •  

New Normal คืออะไร คำนี้เราจะเริ่มได้ยินมากขึ้น หลังจากสถานการณ์ COVID-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลกในเวลานี้ กำลังส่งผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์ในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม วิถีชีวิต ไปจนถึงเทคโนโลยีต่างๆ ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง และจะส่งผลต่อรูปแบบการทำงาน การทำธุรกิจ การติดต่อสื่อสาร การเรียนการสอน ทัศนคติ วิสัยทัศน์ ทั้งหมดของผู้คนด้วย

การเปลี่ยนแปลงที่ว่านี่จึงทำให้เกิดคำเรียกใหม่ว่า New Normal หรือ ความปกติในรูปแบบใหม่ ที่หมายความถึง พฤติกรรมของผู้คนในสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปหลังจากเกิดเหตุการณ์สำคัญ ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่คาดการณ์ไว้ก็เช่น การปรับตัวมาใช้งานออนไลน์ทดแทนในหลายด้านมากขึ้น เป็นต้น

มาลองดูว่า เราจะปรับเปลี่ยนแนวทางในการวางแผนชีวิตและการลงทุนในอนาคตอย่างไรได้บ้าง

1. เกือบทุกธุรกิจจะเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง

ในภาวะ New Normal หลายธุรกิจจะได้รับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น การผลิตสินค้าที่ส่วนประกอบต้องมาจากหลายประเทศตามสิ่งที่ประเทศนั้นมีวัตถุดิบหรือเป็นผู้ผลิตเอง

แต่หลังจากเกิดเหตุการณ์ COVID-19 ทำให้มีการปิดประเทศ ส่งผลให้วัตถุดิบบางอย่างเริ่มขาดแคลน ดังนั้นทางออกคือ หลายบริษัทจะเริ่มเน้นการหันกลับมาใช้ทรัพยากรหรือวัตถุดิบที่มีอยู่ในประเทศ และจะเริ่มเน้นการผลิตสำหรับใช้ในประเทศกันมากขึ้น แทนที่การส่งออก หรือก็คือให้ความสำคัญกับการพึ่งพาตนเองมากขึ้นหลังจากนี้

2. Work from home และ Learn from home

สองสิ่งนี้จะเริ่มกลายเป็นเรื่องปกติ มีการพูดถึงพฤติกรรมมนุษย์ว่า หากมีการทำอะไรซ้ำๆต่อเนื่องกันเป็นเวลา 21 วัน จะเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์ให้เคยชินกับเรื่องนั้น ซึ่งการทำงานและเรียนจากออนไลน์ที่บ้านจะเริ่มแสดงให้เห็นว่า มันสามารถทำได้จริงๆ และในบางบริษัทหรือบางองค์กร ในบางตำแหน่งงาน นี่อาจจะส่งผลที่ดีกว่าก็ได้

3. รูปแบบการติดต่อธุรกิจ

ที่เห็นชัดเจนที่สุดคือ แม้แต่การจับมือทักทาย ก็จะเปลี่ยนไป แล้วหลังจากไวรัสเบาบางลง การเดินทางด้วยสายการบินเพื่อเจรจาติดต่อธุรกิจจะเริ่มลำความสำคัญลง เพราะตอนนี้หลายฝ่ายเล็งเห็นแล้วว่าเราติดต่อสามารถใช้วีดีโอออนไลน์ หรือประชุมออนไลน์ทดแทนได้

แล้วยังรวมถึงรูปแบบของ การสัมนา เสวนา จัดงานประชุม ที่ผู้คนต้องเข้าไปอยู่ในห้องประชุมก็อาจจะมีการลดลงอย่างเห็นได้ชัด

4. การปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางอุตสาหกรรม

กลุ่มธุรกิจและโครงสร้างทางอุตสาหกรรมจะมีการเปลี่ยนแปลงไป ตั้งแต่ระดับการดูแลลูกจ้าง คนงาน สวัสดิการ และการจัดระบบควบคุมดูแลลูกจ้าง

นอกจากนี้อาจจะทำให้บางอุตสาหกรรมต้องถึงขนาดเปลี่ยนรูปแบบไปเลยก็ได้

5. พฤติกรรมผู้บริโภค

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การระบาดของ COVID-19 ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อทัศนคติของผู้คนทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อกันทางกายภาพ การสื่อสาร กระทั่งการจับมือ การดูแลสุขภาพ เรียกว่าเปลี่ยนระดับรากไปเลย

ดังนั้นพฤติกรรมของผู้บริโภคก็จะเปลี่ยนไปด้วย ไม่ใช่แค่ช่องทางบริการ ช่องทางซื้อขายสินค้า แต่จนถึงระดับเปลี่ยนวิธีการประทานอาหาร

6. ธุรกิจท่องเที่ยว และบริการ

ในส่วนของธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อการอยู่รอดในระยะยาว นั่นเพราะผู้คนจะปรับเปลี่ยนวิธีการใช้เงินที่ให้ความสำคัญกับเรื่องที่จำเป็นและประหยัดมากขึ้น ใช้จ่ายน้อยลง ซึ่งจะส่งผลต่องบดุลและการประเมินมูลค่าธุรกิจในภาพรวม

ไม่แน่ว่าต่อไปรูปแบบการท่องเที่ยวก็อาจจะเปลี่ยนไปอีก

7. อีคอมเมิร์ซ กำลังเข้ามาทดแทนเต็มรูปแบบ

ที่จริงหลายฝ่ายก็คาดการณ์ว่ามันต้องข้ามาทดแทนระบบค้าปลีกแบบเก่า เพียงแต่จากโควิด19 เลยเหมือนการบังคับให้ต้องปรับตัวมากับรูปแบบนี้อย่างจริงจัง รวมถึงการส่งสินค้า Delivery จะกลายเป็นหนึ่งในธุรกิจหลักต่อจากนี้อีกหลายปี

8. คอนเท้นต์ สตรีมมิ่ง บนออนไลน์

ตอนนี้ผู้คนก็เสพเรื่องนี้อยู่แล้ว แต่จากการกักตัว ก็ทำให้นี่กลายเป็นรูปแบบการเสพข้อมูลข่าวสาร ความบันเทิง ทดแทนรูปแบบอนาล็อค

9. การจับโอกาสใหม่

หลายฝ่ายเริ่มค้นหาโอกาสในวิกฤติ หลังจาก COVID-19 ตัวอย่างเช่น การที่มีหลายบริษัทหรือสถาบันการสอนปรับรูปแบบของตนเองบนออนไลน์อย่างเต็มตัว ไม่ว่าจะใช้  โปรแกรม Zoom หรือ FaceTime รวมถึงหลายธุรกิจจะมีการยืดหยุ่นในด้านนี้มากขึ้นด้วย

นอกจากนี้ ธุรกิจในกลุ่ม สุขภาพ ก็จะได้รับความสำคัญอย่างยิ่งมากกว่าเดิมขึ้นไปอีก

สรุปในภาพรวม เพราะสถานการณ์ COVID-19 นี้เองที่เป็นจุดตั้งต้นให้ผู้บริโภคจะเคลื่อนย้ายไปสู่พฤติกรรมใหม่ หรือ New Normal ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงการติดต่อหรือรับรู้ข่าวสารต่างๆ หลายธุรกิจจำเป็นต้องปรับตัวในระยะยาว แต่ก็อาจจะกลายเป็นโอกาสท่ามกลางวิกฤตก็ได้ ซึ่งช่องทางอีคอมเมิร์ซ ก็จะเป็นหนึ่งในทางออกสำคัญที่ไม่ทำตอนนี้ก็ไม่ได้แล้ว

 

 

 

เขียนโดย อิทธิชัย อรรถกระวีสุนทร
Expertise: China Marketing
อ่านบทความ Exclusive เพิ่มเติมได้ที่นี่

Copyright © MarketingOops.com


  • 301
  •  
  •  
  •  
  •  
Ittichai
ผู้ก่อตั้ง บริษัท เลเวลอัพ โฮลดิ้ง จำกัด ที่ปรึกษาด้านการตลาดจีน เจ้าของเพจ Level Up Thailand, Level Up China และ เว็บไซต์ Level Up Thailand (https://www.levelupthailand.com) มีความรู้ด้านการตลาดออนไลน์ในจีน เป็นนักพูดสร้างสรรค์ และผู้เขียนหนังสือ “บุกตลาดจีนด้วยโซเชียลมีเดีย”
CLOSE
CLOSE