เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมามีงานที่น่าสนใจที่เพิ่งผ่านไปกับงาน Google I/O ที่นักพัฒนาซอฟ์ทแวร์และคนที่สนใจด้านเทคโนโลยีทั่วโลกต่างติดตามว่าจะมีนวัตกรรมจากบริษัท Tech Company สุดยิ่งใหญ่นี้ทำอะไรออกมาบ้าง และอะไรที่จะเป็นอนาคตต่อไป ซึ่งจากงานนี้มีสิงที่น่าสนใจหลาย ๆ อย่างด้วย แต่สิ่งที่จะมาเล่าวันนี้เป็นสิ่งที่นักการตลาดทั่วโลกกำลังมองกันว่าจะเป็นสมรภูมิถัดไปสำหรับนักการตลาด
ตา เสียงและการได้ยิน เรียกได้ว่าเป็นรูปแบบการสื่อสารตามพื้นฐานธรรมชาติของมนุษย์ใช้กันมา เราใช้ตาในการรับประสาทสัมผัสทางการมองเห้น และแปลการมองเป็นสัญญาณเคมีแล้วเกิดความรู้สึกกับความทรงจำต่าง ๆ ขึ้นมา การพูดและฟังทำให้เกิดการสื่อสารและความเข้าใจ ทำให้สัมผัสทางอารมณ์ต่าง ๆ ขึ้นมาแล้วสร้างความเข้าใจระหว่างคนสื่อสารเข้าด้วยกันได้ ทั้งนี้รูปแบบอื่น ๆ นั้นเพิ่มเติมมาทีหลัง ไม่ว่าจะเป็นการเขียน และอื่น ๆ ทั้งนี้ทำให้นักพัฒนานวัตกรรมต่างสนใจในรูปแบบการสื่อสารพื้นฐานนี้ทั้งการมองเห็น และ การพูดและได้ยิน ว่าจะสามารถทำให้นวัตกรรมสามารถขยายขีดความสามารถทางการมองเห็นเชื่อมระหว่างโลกเสมือนจริงใน Digital เข้ากับโลก Physical เข้าด้วยกันได้ หรือทำให้คนนั้นสามารถเข้าไปท่องในโลก Digital และปฏิสัมพันธ์ได้ขึ้นมา อีกส่วนก็พัฒนาให้มนุษย์นั้นสามารถปฏิสัมพันธ์ทางเสียงกับเครื่องจักรได้ ทำให้เครื่องจักรสามารถเข้าใจคำสั่งและโต้ตอบกลับด้วยเสียงให้มนุษย์ได้ยินนั้นขึ้นมา ทำให้กระบวนการส่งคำสั่งนั้นง่ายลงกว่าในอดีจที่ต้องพิมพ์ มาเป็นการสื่อสารที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้เราจึงเห็น Platform 2 Platform ที่เร่งพัฒนากันและแข่งขันกันอย่างมากคือ MR/VR/AR ที่เป็นเรื่องของการมองด้วยตา และ Voice Platform ที่เป็นเรื่องของการใช้เสียง
MR/VR/AR นั้นกำลังเป็นเรื่องที่กำลังถูกเร่งพัฒนาและผลักดันโดยทุก ๆ อุตสาหกรรมอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านเทคโนโลยรที่บนิษัทใน Tech Company ทั้งหลายกำลังสนใจอย่าง Facebook กับ Oculus, Google กับ Daydream และ Microsoft กับ Hololens ทั้งนี้ยังไม่นับในบริษัท Startup ที่กำลังวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ของตัวเองขึ้นมาเพื่อให้กลายเป็นตัวเลือกในการตลาดเพิ่มเติม นอกจากการวิจัยอุปกรณ์แล้วบิษัทต่าง ๆ ก็ลงขันกันเพื่อพัฒนา Content ที่เป็น MR/VR หรือ AR ต่าง ๆ ขึ้นมา มีการก่อตั้งบริษัท Joint Ventures เพื่อผลักดันอุตสาหกรรม Content ตัวนี้ขึ้นมาให้ตลาดขานรับโดยไว ซึ่งในตอนนี้นอกจาก Content VR ที่เราหาได้จาก Youtube แล้ว เรายังมี Games VR ออกมาให้เล่นกันมากมายไม่ว่าจะเป็น Playstation หรืออื่น ๆ และยังมีภาพยนต์ VR ที่เข้าชิงออสการ์และไปฉายที่เทศกาลภาพยนต์ Cannes อีกด้วย สุดท้ายวงการโฆษณาเองก็มีการแข่งขันกันใน Platfrom ที่ให้บริการโฆษณาแบบ MR/VR/AR อย่างเช่น Facebook หรือ OmniVirt ที่มี Founder เป็นคนไทยและกำลังมาแรงที่ Sillicon Valley เองก็ตาม ทั้งนี้แม้ว่าอุปกรณ์ในปัจจุบันจะดูเทอะทะ แต่สุดท้ายก็มีการวิจัยว่าอุปกรณ์จะกลายมามีขนาดเหมือนแว่นตาปกติ ที่สามารถฉายแสงขึ้นไปได้ หรือเอาโลกเสมือนเข้ามาซ้อนทับกับโลกจริงได้เลย (Google ทำมาแล้วกับ Google Glass แต่เพี้ยนไปหน่อย) ซึ่งเจ้าที่ทำเป็นตัวอย่างได้ดีในการใช้แว่นมาช่วยเพิ่มพลังการสื่อสารคือ Snap Inc. กับ Spectacles ที่มองว่ารูปแบบการสื่อสารด้วยตานั้นจะเป็นสิ่งสำคัญ ทำให้สร้างแว่นที่สามารถอัดและถ่ายวิดีโอได้ (ผมได้ลองซื้อมาเล่นแล้ว ลองไปดูรีวิวที่นี้) ทั้งนี้นักการตลาดต้องเริ่มคิดว่าจะเอา Content หรือแบรนด์ตัวเองเข้าไปอยู่ใน Platform พวกนี้ได้อย่างไรในอนาคต จะสร้างประสบการณ์ที่ดีอย่างไรผ่าน MR/VR/AR เหล่านี้ เช่นการสร้างเนื้อหา ร้านหรือโชว์รูมเข้าไปใน MR/VR/AR
httpv://www.youtube.com/watch?v=WqCH4DNQBUA
VoiceChat นี้กลายมามีพลังได้เพราะการมาถึงของ AI และ Machine Learning ที่ฉลาดขึ้น ทำให้ VoiceChat นั้นมีการแข่งขันกันอย่างมาก เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภคต่าง ๆ ได้ใช้และติดกับผู้ช่วยดิจิทัลเหล่านี้มากขึ้น ทั้งนี้ในส่วนผู้นำเรื่องนี้ได้แก่ Amazon กับ Alexa ต่อมาคือ Google กับ Google Home และ Google Assitant ฝั่ง Microsoft ก็มี Cortana ฝั่ง Apple ก็มี Siri นี้ยังไม่นับผู้เช่นรายย่อยต่าง ๆ อีกมากมายที่พัฒนาเครื่องมือ Voice Platform ให้เราได้ใช้งานหรือสั่งงานเพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตต่าง ๆ ขึ้นมา ปัญหาคือเมื่อผู้บริโภคใช้ชีวิตผ่าน VoiceChat แบบนี้จะทำให้ความสนใจของผู้บริโภคจะอยู่ที่สิ่งที่ Voice Platform นั้นแนะนำ และแบรนด์ไหนที่ไม่ได้คิดถึงปฏิสัมพันธ์ Voice Platform ในอนาคตนั้นก็อาจจะทำให้สื่อสารหรือปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภคได้ยากมากขึ้นไปอีก ทั้งนี้แบรนด์และนักการตลาดเองต้องเริ่มคิดถึงว่า จะทำให้แบรนด์ตัวเองนั้นเข้าไปอยู่ในการแนะนำของ Voice Platformเหล่านี้ได้อย่างไร และองค์กรตัวเองมี Voice Platform ที่เตรียมพัฒนาไว้เพื่อสร้างประสบการณ์ให้ผู้บริโภคได้อำนวยความสะดวกตัวเอง ได้ AI ที่สามารถรู้ใจและบริการได้เร็วขึ้นกว่ามนุษย์อีกด้วย
ทั้งนี้อนาคตตอนนี้เปลี่ยนเร็วมาก นักการตลาดนั้นมีความจำเป้นต้องมมองอนาคตแบบไม่ประมาทและเตรียมรับมือโดยการทดลองเพื่อหาว่าอะไรถูกผิด เพื่อเตรียมพร้อมกับอนาคตที่จะมาถึงในเวลาอันรวดเร็วนี้ได้ เพราะการตลาดในยุคนี้ ใครช้าคือผู้แพ้