7 ขั้นที่องค์กรจะสร้างนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพต่อธุรกิจ

  • 145
  •  
  •  
  •  
  •  

นวัตกรรมนั้นเป็นเรื่องสำคัญในการทำธุรกิจในยุคนี้อย่างมาก และเป็นหัวข้อสนทนาที่สำคัญในหมู่ผู้บริหารที่ต้องหานวัตกรรมที่มาสร้างให้องค์กรตัวเองมีความแตกต่าง หรือสามารถนำหน้าคู่แข่งได้ แต่ปัญหาหลาย ๆ ครั้งนั้นเกิดขึ้นมาว่าแล้วจะใช้นวัตกรรมอย่างไรให้ประสบความสำเร็จได้ขึ้นมา

business_model_innovation_state_of_mind

ทุก ๆ องค์กรต่างแสวงหานวัตกรรมเพื่อมาพัฒนาธุรกิจตัวเองให้มีความก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น แต่การที่จะรู้ว่าตัวเองต้องการนวัตกรรมแบบไหนแล้วจะใช้และมีนวัตกรรมอย่างไรให้ประสบความสำเร็จต่อธุรกิจและการทำการตลาดตัวเองได้นั้นเป็นคำถามสำคัญอย่างมาก  วิธีการคิดที่สำคัญที่ผู้บริหารหรือคนทำการตลาดควรจะโฟกัสลงไปคือการที่สามารถทำให้คนทำงานหรือคนร่วมงานอื่น ๆ สามารถมีความคิดริเริ่มในการที่จะมีไอเดียดี ๆ ที่จะใช้นวัตกรรมขึ้นมา แทนที่จะมีเฉพาะตัวเองเท่านั้นที่ผลักดัน หลาย ๆ องค์กรชอบใช้วิธีการประกาศว่าตัวเองจะความเป็น Startup เพื่อที่จะสามารถสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ ได้เหมือน Startup ขึ้นมา แต่การประกาศกับการลงมือจริงนั้นต่างกันอย่างมาก เพราะส่วนใหญ่แล้วองค์กรใหญ่ ๆ จะติดปัญหาในเรื่องวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่เหมือน Startup และวิธีการทำงานที่ไม่เหมือนกันกับ Startup เลย

6-step-approach-to-business-model-innovation

เพราะฉะนั้นการที่องค์กรหรือแบรนด์นั้นจะทำตัวเองเป็น Startup นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย สิ่งที่แบรนด์และองค์กรควรจะทำคือการสร้างนวัตกรรมด้วยทางที่ตัวเองนั้นจะไปได้ แบรนด์และองค์กรที่ทำการสร้างนวัตกรรมได้สำเร็จในยุคปัจจุบันคือการที่ยังสามารถทำเดินทางตามวิถีธุรกิจที่ตัวเองทำอย่างดั้งเดิมได้อยู่ และสร้างนวัตกรรมออกมาใหม่ ๆ ด้วยการมองเป็นธุรกิจใหม่อีกแบบขึ้นมาแทน ซึ่งในการสร้างนวัตกรรมขึ้นมาเพื่อให้ประสบความสำเร็จนั้นมีวิธีการ 7 ขั้นเพื่อการเริ่มต้นได้ดีดังนี้

  1. บ่งชี้ว่าต้องการอะไรให้ได้ : การรู้ว่าองค์กร หรือธุรกิจของเรานั้นจะมุ่งเป้าไปทางไหนและต้องการอะไรนั้นเป็นเรื่องสำคัญเพื่อที่จะสามารถลงมือหรือคิดทางทำได้ถูกต้องขึ้นมา แล้วเมื่อองค์กรนั้นต้องการมุ่งเป้าเป้นบริษัทที่เน้นนวัตกรรมสิ่งที่ควรทำคือการผลักดันให้เกิดการลงมือใหม่ ๆ ออกมา ตัวอย่างเช่นบริษัท Ford ที่อยากจะทำสิ่งใหม่ ๆ ออกมาเป็นนวัตกรรมบริษัท บริษัท Ford ทำสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อนนั้นคือการออกรถยนต์รุ่นที่เป็น push-button hatchback เป็นการสร้างนวัตกรรมบนธุรกิจเดิมที่มีอยู่ ปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดีขึ้น แทนที่จะมุ่งเน้นความสนใจไปกับนวัตกรรมที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับธุรกิจออกมา เช่นการทำ App อื่น ๆ
  2. สร้าง Operation การทำงานที่ถูกต้อง :  องค์กรหรือผู้บริหารต้องสร้างความชัดเจนในกระบวนการทำงานเพื่อสร้างนวัตกรรมนั้นว่า input และ output นั้นคืออะไร การสร้าง Operation ที่ชัดเจนนี้ไม่ใช่แค่การมีกระบวนการทำงานที่ถูกต้องตั้งแต่การวิจัยตลาดจนไปถึงไอเดีย แต่ยังเป็นจนถึงตั้งแต่ไอเดียนั้นมาสู่การมีสินค้าและบริการที่แข็งแกร่งออกมาได้ พวกบริษัทอย่าง Amazon และ Google นั้นเวลามีนวัตกรรมใหม่ ๆ จะไม่ได้วางแผนจนแค่มีไอเดียออกมา แต่วางแผนมาถึงว่าจะมีกระบวนการแบบไหนที่จะเอาสินค้าและบริการนั้นมาสู่ตลาดได้อีกด้วย
  3. ให้ใช้เวลานอกงานในการสร้างนวัตกรรม : วิธีนี้เป็นวิธีการที่ทำให้พนักงานโฟกัสต่องานที่ยังทำอยู่ได้อย่างดี และสามารถสร้างนวัตกรรมออกมาได้ด้วย ที่ Google ก็มีกฏให้พนักงานสามารถใช้เวลา 20% นอกจากงานไปทำ Project อะไรก็ได้เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ออกมา ซึ่งหลาย ๆ บริษัททำตรงนี้ไม่ได้เพราะใช้เวลาของพนักงานอย่างเต็มที่จนหมด ซึ่งก็มีวิธีการคือการจ้างพนักงาน Parttime เข้ามาช่วยสร้างนวัตกรรมในร่วมกับพนักงานต่าง ๆ ในองค์กร โดยการค้นหาว่าแต่ละพนักงานแต่ละคนเจอปัญหาที่ผู้บริโภคเจออะไรบ้างและแก้ไขปัญหานั้นออกมา
  4. สร้าง KPI ที่ฉลาดออกมา : การมี KPI  และสร้างแรงจูงใจที่ดีนั้นเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากในการสร้างนวัตกรรมองค์กร แต่การที่ใช้ P&L เป็นตัวชี้วัดนั้นเป็น KPI ที่ล้าสมัยเพราะการสร้างนวัตกรรมนั้นไม่ได้สามารถชี้วัด P&L ได้อย่างรวดเร็ว เผลอ ๆ จะขาดทุนอีกด้วยเพราะเป็นการลงทุนในการเกิดอะไรใหม่ ๆ  KPI ที่ดีในการชี้วัดนี้เช่น การที่สามารถมี Service อะไรใหม่ ๆ ออกมา หรือ สามารถปรับปรุงสินค้าและบริการเก่าได้ดีแค่ไหน
  5. ประกาศให้โลกรู้ และพนักงานต้องรู้เป็นกลุ่มแรก : การมีนวัตกรรมออกมาและไม่มีใครรู้นั้นไม่ทำให้นวัตกรรมเกิดแน่นอน และกลุ่มคนที่ควรรู้เป็นกลุ่มแรกคือพนักงานของตัวเองที่ต้องเรียกได้ว่า “อิน” กับนวัตกรรมนั้น ๆ อย่างมาก เพื่อที่จะได้เตรียมตัว และสามารถกลายเป็นกระบอกเสียงสำคัญในการที่จะช่วยให้บริษัทสร้างนวัตกรรมให้สำเร็จ
  6. อย่าลงทุนสูงในการสร้างนวัตกรรม : การสร้างนวัตกรรมนั้นสำคัญ แต่อย่าเผาเงินไปกับการวิจัยนวัตกรรมมากเกินไป ไอเดียดี ๆ บางครั้งก็มาจากการเริ่มต้นที่เล็ก ๆ ซึ่งกฏสำคัญในการสร้างนวัตกรรมของบริษัทคือไม่ควรมีงบประมาณการวิจัยนวัตกรรมมากกว่า 20% ของยอดขาย เพราะมากกว่านี้บริษัทคุณจะกลายเป็นบริษัทวิจัยแทน
  7. จงให้พนักงานสนุกกับการสร้างนวัตกรรม : การทำงานด้วยความสนุกย่อมทำให้ได้งานดี ๆ สิ่งดี ๆ ออกมา การมีกระบวนการทำงานที่ไม่ช่วยให้พนักงานทำงานได้ดี ไม่สนุกย่อมทำให้พนักงานไม่อยากคิดอะไรดี ๆ ออกมาและไม่สามารถทำให้ได้นวัตกรรมที่ดีออกมาด้วย

ทั้งหมดนี้เป็น 7 ขั้นขั้นต้นที่จะทำให้องค์กรและแบรนด์ที่ไม่ใช่ Startup สามารถมีนวัตกรรมของตัวเองขึ้นมาได้ การที่จะมีนวัตกรรมขึ้นมาได้บริษัทต้อง Flexible  ในกฏที่เคยมีเพื่อเปิดโอกาสให้เกิดอะไรใหม่ ๆ ขึ้นมาในบริษัทได้ด้วย


  • 145
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ