เมื่อการตลาดนั้นล้ำเส้น ยิ่งทำร้ายวงการทั้งหมดให้แย่ลง

  • 462
  •  
  •  
  •  
  •  

การเปิดตัวแบรนด์ หรือการทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักนั้นมีความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะการที่ต้องเร่งสร้างให้เกิดการจดจำ หรือทำให้เข้าใจว่ามีแบรนด์นี้เกิดขึ้นมาเพื่อที่จะทำให้คนสนใจมาซื้อสินค้า หรือใช้บริการได้ ซึ่งด้วยความที่ต้องการความน่าสนใจทำให้หลาย ๆ แบรนด์มักจะทุ่มเงินลงไปในช่วงเปิดตัวอย่างมากมายและบางครั้งการทำการทุ่มเงินหรือสร้างการเปิดตัวให้เป็นที่รู้จักนี้ก็ทำให้เกิดการล้ำเส้นของการทำการสื่อสารทางการตลาดไปจนทำให้ผู้บริโภคนั้นรำคาญ และก่อให้เกิดผลเสียต่อวงการโดยรวมได้

Screen-shot-2013-07-12-at-4.17.09-PM

เมื่อเร็ว ๆ มานี้มีกรณีตัวอย่างที่เกิดที่มี e-Commerce ของเกาหลีเข้ามาเปิดตัวในประเทศไทยอีกเจ้าหนึ่ง ซึ่งตลาด e-Commerce ของไทยตอนนี้เต็มไปด้วยผู้เล่นมากมาย ไม่ว่าจะเจ้าใหญ่ เจ้าเล็กหรือแม้แต่ทางห้างสรรพสินค้าเองก็ยังทำ e-Commercer ทำให้การแย่งชิงพื้นที่นั้นเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก สิ่งที่เกิดขึ้นสำหรับ e-Commerce รายนี้ที่เข้ามาคือการที่ต้องประกาศตัวให้พื้นที่สำคัญที่กลุ่มเป้าหมายอยู่นั้นให้รับรู้ได้อย่างรวดเร็วแต่ปัญหาคือหลาย ๆ สื่อโดยเฉพาะ OOH  และ BTS นั้นถูกจับจองโฆษณาไปแล้วอย่างมากมาย ทำให้ต้องมีการทุ่มซื้อสื่อใหม่ ๆ เกิดขึ้นมานอกจากสื่อที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันอย่างสถานี หรือป้ายต่าง ๆ มาเป็นเสียง Jingle หลังประกาศสถานี และ บัตร BTS ที่เป็นรูปหน้าพรีเซนเตอร์และแบรนด์ของตัวเองที่ให้ผู้บริโภคที่ต้องซื้อบัตรได้บัตรแบบนี้แทน

Screen Shot 2560-02-18 at 5.13.50 PM

ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมานั้นคือปกติแล้วโฆษณาบน BTS นั้นผู้บริโภคก็มีความรำคาญหรือไม่ชอบโฆษณาที่ใช้เสียงบนรถไฟฟ้าอยู่แล้ว อย่างเช่นทีวี เพราะผู้บริโภครู้สึกว่าเสียงนั้นรุกล้ำความเป็นส่วนตัวเข้ามาในชีวิตอย่างมาก เมื่อเทียบกับรถไฟฟ้าในต่างประเทศที่จะมีแค่สื่อโฆษณาเป็นป้ายโฆษณาอย่างเดียว และไม่มีเสียงมารบกวน แต่ในประเทศไทยเองนอกจากที่มีทีวีตอนนี้ กลับมีเสียง Jingle หลังประกาศสถานีอีก ทำให้ผู้บริโภคหลายคนรู้สึกว่าการขึ้นรถไฟฟ้าถูกรบกวนอย่างมากเข้าไปอีก เพราะเสียงที่ประกาศหลังประกาศชื่อสถานีไม่ได้ช่วยให้ผู้บริโภครู้สึกดีขึ้น ไม่ได้ทำให้ผู้บริโภคมีชีวิตดึขึ้นหรือช่วยลดราคาตัว หรือทำให้การเดินทางสะวดกขึ้น จึงจะมาประกาศชื่อเหมือน Sponsored by XXX ได้  นอกจากนี้อย่างบัตรรถไฟฟ้านั้นก็ไม่มีการนำมาสกรีนเป็นลายของแบรนด์ที่ทำการซื้อโฆษณาแล้วขายกลับให้ผู้บริโภค ซึ่งทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าเป็นการยัดเยียดให้ซื้อของที่ต้องเอาไปจ่ายเพื่อได้สิ่งที่ไม่ต้องการ หรือจ่ายให้แบรนด์ที่มาลงโฆษณาด้วยอีก โดยปกติกันการสกรีนบัตรรถไฟฟ้าเป็นชื่อแบรนด์นี้ จะทำเพื่อให้ผู้บริโภคได้ประโยชน์ไปเต็ม ๆ เช่นนั้นไปเป็นรางวัลในการเล่นกิจกรรม หรือทำการส่งเสริมการขายในการแจกบัตรรถไฟฟ้าที่มีแบรนด์นี้ไป ซึ่งผู้บริโภคจะไม่ติดอะไร เพราะเป็นการได้บัตรมาฟรี ๆ โดยไม่ได้เสียเงินในการได้มา

Screen Shot 2560-02-21 at 12.16.26 PM

ตอนนี้ที่เกิดขึ้นมาคือการที่ผู้บริโภครู้สึกถึงการเอาเปรียบจากทั้งแบรนด์ e-Commerce รายนี้กับ BTS ที่เอาเปรียบผู้บริโภคเกินไปในการขายสื่ออย่างมากมาย และล้ำเส้นความพอดีที่ผู้บริโภครับได้ขึ้นมาจนทำให้เกิดกระแสต่อต้านขึ้นมา ซึ่งไม่ได้ต่อต้านแค่ Jingle ที่ประกาศหลังชื่อสถานี หรือบัตร BTS ที่พิมพ์ชื่อแบรนด์ขาย แต่กลายมาเป็นโฆษณาทั้งหมดของรถไฟฟ้าที่ออกมาไม่ว่าจะเป็นสื่อโทรทัศน์ในรถไฟฟ้า (ที่คนยังไม่รู้สึกว่าล้ำเส้นมาก) จนไปถึงสื่อป้ายโฆษณาทั้งหมดแล้ว ซึ่งทำให้กระทบกับการสื่อสารทางการตลาดของวงการไปทั้งหมดได้อีก เมื่อเข้าไปดู Voice ของแบรนด์ดังกล่าวปรากฏว่าแบรนด์นั้นถูกต่อว่าอย่างมากมายในการทำบริการ e-Commerce ที่ไม่ได้ใช้งานได้ดี ยังมีช่องว่างอีกเพียบในการทำเว็บไซต์ซึ่งไม่ได้ปลอดภัยต่อผู้ใช้งานอย่างมากมาย  แถมเทียบกับงบการตลาดที่บอกว่าใช้มากกว่า 300 ล้านบาทแล้ว ทำให้หลาย ๆ คนคิดว่าทำไมไม่เอาเงินจำนวนมากมายนี้มาทำให้สินค้าตัวเองดีก่อน แล้วค่อยทำการตลาดต่อไป

Screen Shot 2560-02-18 at 5.16.47 PM

การทำการตลาดของ e-Commerce นี้เป็นตัวอย่างได้อย่างดีของความมักง่ายในการวางแผนสื่อโฆษณา ที่ไม่ได้ใช้ความคิดและไม่ได้สร้างสรรค์ในการสร้างแบรนด์ตัวเองว่า แบรนด์ตัวเองนั้นแตกต่างจากคู่แข่งอย่างไร และทำไมต้องมาใช้แบรนด์ของตัวเองแทนที่จะไปใช้ของคู่แข่งด้วย สิ่งที่ทำกลับใช้เม็ดเงินมหาศาลในการทุ่มลงไปในการทำให้คนเห็น และคนจำ แต่สิ่งที่เห็นและจำกลับไม่ได้ทำให้ผู้บริโภคนั้นรู้สึกดี หรือรู้สึกว่าต้องใช้งาน สวนทางกลับแบรนด์ดี ๆ หรือ e-Commerce รายอื่นที่จะพยายามเน้นคุณค่าของแบรนด์ตัวเองที่จะไปตอบโจทย์ผู้บริโภคว่าจะทำให้ผู้บริโภคสะดวก สบายขึ้นได้อย่างไร การที่แบรนด์ e-Commerce นี้ทำกลับทำให้ภาพลักษณ์และความรู้สึกของผู้บริโภคต่อการตลาดนั้นแย่ลงไปอีกว่านักการตลาดนั้นชอบทำอะไรล้ำเส้นไม่สนใจในความรู้สึกของผู้บริโภค ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคนั้นไม่สนใจแบรนด์อื่น ๆ ที่ทำตัวมาดีอีกด้วยต่อไป

quote-good-marketing-offers-us-a-view-of-the-world-bad-marketing-offers-us-a-product-to-buy-simon-sinek-85-13-67

สุดท้ายแล้วนักการตลาดหรือเอเจนซี่ที่ดีนั้นต้องแนะนำสิ่งที่ดี สิ่งที่ถูกให้กับแบรนด์ เพื่อที่จะสร้างแบรนด์ที่มีคุณค่าต่อผู้บริโภค ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค และทำให้ผู้บริโภคนั้นมีชีวิตที่ดีขึ้นจากการใช้สินค้าและบริการ รวมทั้งต้องมีวิธีที่สร้างสรรค์ในการสื่อสารของแบรนด์เข้าไปในใจผู้บริโภคเพื่อให้ผู้บริโภคบอกต่อในทางบวก ที่มากกว่าการทุ่มเงินลงไปอย่างมากมายแบบนี้


  • 462
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ