“มาช้า หมัดต้องหนักกว่านะ” Uber แตกธุรกิจใหม่ “บริการส่งอาหารเดลิเวอรี่” ท้าชน LINE MAN และ Foodpanda

  • 657
  •  
  •  
  •  
  •  

ubereats cover

อังคารที่ 17 มกราที่ผ่านมา Uber เปิดตัวแอพบริการส่งอาหารในกรุงเทพฯ  UberEATS ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนใช้ชีวิตในเมือง โดยเป็นพาร์ทเนอร์กับร้านอาหารมากกว่า 100 ร้าน โดยคัดเลือกจากชื่อเสียงของร้านและคุณภาพอาหาร ส่วนความหลากหลายนั้นจะครอบคลุมทั้งอาหารไทยไปจนถึงนานาชาติ อาทิ  ครัวอัปสร, แอพเพีย, ร็อกเก็ต คอฟฟี่บาร์, เดเนียล ไทยเกอร์ อิปปุโดะราเมง รวมไปถึงเมนูยอดนิยมจากร้านดังทั่วไป เช่น ข้าวเหนียวมะม่วงปากซอยทองหล่อ เป็นต้น ใช้ได้ทั้งระบบ iOS และ Android โดย UberEATS จะเป็นแอพดาวน์โหลดแยกกับแอพ Uber ที่เป็นบริการเรียกรถ

 

อาจจะพอทราบกันว่า ธุรกิจแบบ Uber ไม่ได้ขายสินค้า แต่ใช้เทคโนโลยีสร้างแพลทฟอร์มของตัวเองขึ้นมา ดึงธุรกิจในเมืองและคนทั่วไปมาร่วมเป็นพาร์ทเนอร์เพื่อสร้างระบบการบริการแบบเครือข่ายที่มีแอพพลิเคชั่นเป็นตัวกลาง ธุรกิจฟู้ดเดลิเวอร์ลี่ มีมานานแล้วแต่ ฟู้ดเดลิเวอร์รี่ในยุคนี้ต่างกับยุคก่อน เพราะมันถูกขับเคลื่อนด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีบวกกับเทคโนโลยีมีราคาถูกลง ทำให้จำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนในไทยเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในช่วงไม่ถึง 5 ปี สิ่งที่ตามมาคือเทรนด์ธุรกิจ O2O หรือ Online to Offline Services (การให้บริการเชื่อมโยงกันจากระบบออนไลน์มาสู่ออฟไลน์) ที่เริ่มแพร่หลายในไทย เห็นได้จาก Startup เจ้าดังต่างตบเท้ากันเข้ามาลงทุน

ubereats 1

 

การจับธุรกิจอาหารของ Uber ในไทยเป็นเรื่องที่น่าจับตา เพราะวัฒนธรรมของคนไทยนั้นให้ความสำคัญกับอาหารการกิน คนไทยกินตลอดเวลา ตั้งแต่น้ำเต้าหู้ปลาท่องโก๋ในตอนเช้า ไปจนถึงร้านข้าวต้มโต้รุ่งตอนเกือบเช้า อีกทั้งสตรีทฟู้ดบ้านเราคือเบอร์หนึ่ง รวมถึงเราสามารถรับวัฒนธรรมอาหารจากประเทศต่างๆเข้ามาปรับรสชาติให้ถูกปากคนไทยได้ เราปรับตัวกันเก่งในเรื่องอาหาร เราเห็นรีวิวอาหารกันจนชินตาในหน้าฟีดเฟซบุ๊ค พูดง่ายๆว่าอาหารคือภาษาหนึ่งที่คนไทยถนัด

 

ซึ่งดูเหมือน Uber จะเข้าใจในจุดนี้ จึงสร้างจุดแข็งของตัวเองด้วยการชูความโดดเด่นของร้านอาหารที่ตัวเองเลือกเป็นพาร์ทเนอร์ด้วยจำนวนกว่า 100 ร้าน มีความหลากหลายที่ไม่ใช่แค่ร้านหลากหลายนะ แต่รสชาติหลากหลาย มีความนานาชาติ ประเภทของอาหารหลากหลาย รวมพวกเบเกอรี่ และเครื่องดื่ม ซึ่งคัดเลือกมาตั้งแต่ร้านสตรีทฟู้ดอร่อยๆ ไปจนถึงร้านพรีเมียม ตอบรับทั้งคนที่มีเป้าหมายอยู่แล้วว่าอยากกินอะไร และคนที่ไม่รู้ว่าจะกินอะไรแต่ขอเปิดเข้ามาเลือกเมนูก่อน สร้างทางเลือกของอาหารที่ตอบโจทย์ความต้องการได้ค่อนข้างครบ พร้อมโฟกัสที่คุณภาพอาหาร และความน่าเชื่อถือของร้าน

 

อันที่จริงธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ในไทยตอนนี้มีผู้เล่นนับ 10 ราย เบอร์หลักๆคือ LINE MAN และ Foodpanda ซึ่ง Foodpanda นั้นเป็นเจ้าแรกที่สามารถบุกเบิกธุรกิจแนวนี้ในไทยจนติดตลาด (เริ่มธุรกิจในเยอรมัน เข้าไทยเมื่อปี 2557)  เน้นร้านอาหารแฟรนไชส์เจ้าดัง ครอบคลุมอาหารหลายชาติ ราคาส่งเริ่มต้นที่ 40 บาท ให้บริการในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล เชียงใหม่ และภูเก็ต

 

ส่วนเจ้าที่มาแรงสุดในตอนนี้คือ LINE MAN เพราะมีพาร์ทเนอร์ที่แข็งแรงอย่าง Wongnai แอพรีวิวร้านอาหารเบอร์ 1 ในไทยช่วยซัพพอร์เรื่องร้านอาหาร และ LaLaMove บริษัทสตาร์ทอัพจากฮ่องกงที่ถนัดในเทคโนโลยีการขนส่ง (logistic technology) และ ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้ LINE ในไทยมีกว่า 50 ล้านคน (ข้อมูลล่าสุดปี 2559) คนไทยจึงมีความใกล้ชิดกับ LINE และ LINE ถนัดในการออกแบบ UX และ UI ให้ใช้งานง่าย มีการ์ตูนคาแรคเตอร์น่ารักที่คนไทยจดจำซึ่งนำมาช่วยโปรโมทบริการได้เป็นอย่างดี แต่ทว่า LINE MAN นั้นมี 3 บริการอยู่ในแอพเดียวคือ แมสเซนเจอร์, สั่งซื้ออาหาร และ สั่งซื้อของจาก 7-11 ข้อดีคือความครบครัน แต่อาจจะทำให้ภาพของการเป็นตัวแทนของ ฟู้ดเดลิเวอรี่ ยังไม่ชัดเจน

 

ตรงนี้คือโอกาส (opportunity) ของ UberEATS ซึ่งนอกเหนือจากการพัฒนาระบบการจัดส่งให้มีประสิทธิภาพ ลูกค้าได้รับอาหารสดใหม่ตรงเวลาแล้ว UberEATS ยังพยายามสร้างตัวเองให้เป็น hub ของการสั่งอาหารบนแอพ เหมือนเวลาที่คนจะค้นหาข้อมูลแล้วต้องนึกถึง Google ความชัดเจนของภาพผู้นำในตลาดแอพ ฟู้ดเดลิเวอรี่ เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องโฟกัส อยากให้คนสั่งอาหาร ก็ต้องสื่อสารด้วยอาหาร และไม่มองแค่เพียงการดึงลูกค้าจากคู่แข่ง แต่มองไปไกลถึงลูกค้าหน้าใหม่ที่ยังไม่เคยใช้บริการสั่งอาหารบนแอพมาก่อน การร่วมโปรโมทจากร้านอาหารที่เป็นพาร์ทเนอร์เป็นหนึ่งยุทธวิธีที่สำคัญ เพราะแต่ละร้านจะมีช่องทางในการสื่อสารกับลูกค้าของตัวเอง การเพิ่มการรับรู้ในส่วนนี้เข้าไป ว่าร้านเรามีบริการส่งอาหารผ่าน UberEATS จะเป็นอีกช่องทางในการสร้างการรับรู้ ที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

สังเวียนนี้น่าจะยังอีกหลายยก เราจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอะไรใหม่ๆเกิดขึ้นในตลาดแอพฟู้ดเดลิเวอรี่ในภาพรวมกันต่อเนื่อง เพราะแต่ละค่ายต่างงัดกลยุทธ์งัดเทคโนโลยีของตัวเองออกมาแลกกันคนละหมัด และล่าสุดเมื่อเดือนพ.ย. ปีที่แล้ว Foodpanda เพิ่งประกาศจับมือเป็นพาร์ทเนอร์กับ Grab เตรียมปล่อยหมัดในสังเวียนฟู้ดเดลิเวอรี่ในไทยแบบจัดหนัก ไม่ใช่แค่การสู้กันดุเดือด แต่จากนี้ไปเราจะได้เห็นการจับมือกันของ Startup แต่ละค่ายที่พากันหาพันธมิตรมาเสริมทัพเพื่อสู้ศึกกันแบบมันส์ๆเลยล่ะค่ะ

 

httpv://youtu.be/sHB_aer7HkI

 

UberEATS แจกโค้ดส่วนลดฉลองเปิดให้บริการพิมพ์คำว่า “UBEREATSBKK” ในช่อง Promo Code ในครั้งแรกจะได้รับส่วนลดมูลค่า 150 บาท (หมดเขตภายในวันที่ 17 กุมภาพันธ์นี้) หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่https://www.ubereats.com/bangkok.

 

วิธีสั่งอาหาร:

  • ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นหรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ubereats.com
  • ระบุสถานที่จัดส่งอาหาร – เพียงเพิ่มสถานที่จัดส่งอาหาร ไม่ว่าจะเป็นบ้านของคุณ ที่ทำงาน หรือสถานที่อื่นๆ ที่คุณต้องการให้ไปส่งอาหาร
  • เลือกร้านอาหาร – ค้นหาร้านประจำของคุณ หรือเลือกร้านอาหารใหม่ๆ
  • กดสั่งอาหารเพียงแตะแค่ปุ่มเดียว – ชำระค่าอาหารผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต จากนั้นเตรียมตัวลิ้มรสกับอาหารมื้ออร่อยได้ภายในเวลาที่กำหนด
  • ตรวจสอบขั้นตอนการจัดส่งอาหาร – สามารถติดตามอาหารที่คุณสั่ง ตั้งแต่ขั้นตอนการจัดเตรียมอาหาร บรรจุลงกล่อง ไปจนถึงติดตามคนส่งอาหาร
  • หมายเหตุ: การสั่งอาหารผ่าน UberEATS ต้องชำระค่าอาหารผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต

 

เวลาเปิดให้บริการ: ทุกวันตั้งแต่ 10.00 น. – 22.00 น.

พื้นที่บริการ UberEATS ในกรุงเทพฯในช่วงแรก ได้แก่

  • สาทร
  • สีลม
  • ปทุมวัน
  • เพลินจิต
  • นานา
  • อโศก
  • พร้อมพงษ์
  • ทองหล่อ
  • เอกมัย
  • เยาวราช

Picture1

 

 

ภาพบรรยากาศในงานเปิดตัว UberEATS ที่ เอมควอเทียร์ เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2560

unnamed-28

unnamed-25

 

16145418_1351105351578049_1996540109_o

15995060_1348730498482201_207316710124150917_o

unnamed-27

ALLEN PENN – Regional General Manager APAC, UberEATS

 

Copyright © MarketingOops.com


  • 657
  •  
  •  
  •  
  •