เรียนรู้จากการที่คนเลิกนับถือศาสนา เพื่อมาปรับใช้กับการตลาด

  • 25
  •  
  •  
  •  
  •  

 ถ้าใครติดตามกระแสด้านสังคมที่ผ่านมา จะสามารถจับกระแสอย่างหนึ่งได้ นั้นคือความเสื่อมความนิยมลงของศาสนาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมา และเกิดสิ่งที่เรียกว่ากลุ่มคนที่ไม่นับถือศาสนาอะไร ซึ่งส่วนใหญ่นั้นจะเป็นวัยรุ่น หรือกลุ่มคนรุ่นใหม่เป็นอย่างมาก ในอเมริกาเองมีการวิจัยจาก General Social Survey (GSS) ระบุว่าในปี 2030 นั้นคนอเมริกากว่า 1/3 จะไม่นับถือศาสนาเลย ซึ่งประเทศอเมริกาเรียกได้ว่าเป็นประเทศหนึ่งที่เคร่งศาสนาเช่นกัน ในบรรดาประเทศเคร่งมุสลิมเองก้มีการออกมาพูดเรื่องประเด็นศาสนาหรือในประเทศไทยเองก็ตามที่คนไม่นับถือศาสนาก็เริ่มเพิ่มขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด

graphic1

ในการถดถอยของการนับถือศาสนานี้มีหลากหลายเหตุผลที่อยู่เบื้องหลัง ไม่ว่าจะเป็น การกดขี่ความเท่าเทียมกันทางเพศ เชื้อชาติหรือฐานะทางสังคม การที่เกิดข่าวเสียต่าง ๆ มากมายกับคนที่เป็นตัวแทนศาสนา จนถึงกลุ่มประชากรเริ่มมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์และมีสามารถแสดงออกถึงความคิดตัวเองได้มากขึ้น แต่การถดถอยทางศาสนานี้ก็มีแง่มุมหนึ่งที่ทำให้คนเลิกนับถือไปเช่นกัน เพราะ ศาสนาเองไม่ได้ถูกปรับแต่งให้เหมาะสมกับบริบทของประชากรในปัจจุบัน โดยเฉพาะวัยรุ่นที่อยู่ในออนไลน์ ทำให้คนเหล่านี้เข้าไม่ถึงศาสนาในหลาย ๆ ทาง โดยบทเรียนนี้นักการตลาดสามารถเอามาเรียนรู้ได้ 3 เรื่องด้วยกันคือ

1. ต้องเริ่มคิดที่จะอำนวยความสะดวกของที่เป็นเป้าหมายในการเข้ามาบริโภคเนื้อหาของแบรนด์ : สิ่งที่สำคัญในการตลาดอย่างมากคือการเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภค เช่นกันการที่รอผู้บริโภคมาหาเหมือนศาสนารอให้คนมานับถือนั้นเป็นการยากอย่างมาก ลองถามตัวเองก่อนว่าตอนนี้กลุ่มเป้าหมายบริโภคข่าวสารผ่านทางไหน ใช้เวลาส่วนใหญ่กับอะไร และใช้เวลาซื้อของที่ไหน ซึ่งแน่นอนอุปกรณ์ปัจจุบันที่ทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ คือมือถือนั้นเอง

ผู้บริโภคในปัจจุบันนั้นมีความอดทนต่ำอย่างมากในการที่จะบริโภคอะไรที่มีความซับซ้อน และต้องการอะไรที่จะกระตุ้นความสนใจ หรือห่างจากสิ่งที่วุ่นวายต่าง ๆ ขึ้นมา จึงเป็นหน้าที่ของนักการตลาดที่จะทำทุกอย่างให้ง่ายที่สุด มีความน่าสนใจในการที่จะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคเอาไว้ขึ้นมา ตัวอย่างง่ายที่อเมริกาเองเกมเบสบอลนั้นกำลังเสื่อมถอยอย่างมากในเด็กรุ่นใหม่ เพราะด้วยการที่เกมนั้นช้า มีความซับซ้อน ทำให้เกิดความน่าเบื่ออย่างมากกับเด็กนุ่นใหม่ จนหันไปนิยมในกีฬาที่มีความสนุก ตื่นเต้นมากกว่าอย่าง e-sport นั้นเอง

convenience1

2. ต้องเริ่มคิดว่าคุณจะเข้าไปอยู่ใน Platform ที่กลุ่มเป้าหมายคุณใช้ได้อย่างมากเหมาะสมอย่างไร และ Platform นั้นเหมาะกับคุณอย่างไร : ทั่วไปนั้นนักการตลาดจะเลือก Platform ต่าง ๆ ตามที่กลุ่มเป้าหมายอยู่ขึ้นมาและเข้าไปมีตัวตนใน Platform เหล่านั้น แต่การเข้าไปมีตัวตนนั้นไม่พอเพราะยังต้องทำตัวให้เหมาะสมกับรูปแบบที่ Platform นั้นสื่อสารกันอยู่ ซึ่งสิ่งที่ศาสนาพลาดไปในตรงนี้คือการไม่เข้าใจใน Platform ต่าง ๆ แล้วเข้าไปอยู่เช่น การทำคลิปที่ไม่ได้ตอบโจทย์ความต้องการใน Youtube ดูแล้วยาวนาน หรือการไม่ได้ทำวิดีโอให้เหมาะสมกับการดูบนมือถือนั้นเอง

ซึ่งนักการตลาดต้องเอาจุดนี้มาใช้คิดให้ดี เพราะการไปอยู่ใน Platform ต่าง ๆ ยังไม่พอ แต่ยังต้องเข้าใจวิธีการแสดงออก วัฒนธรรมและการสื่อสารภายใน Platform เหล่านั้น นอกจากนี้ยังต้องดูว่าจริตของ Platform ดังกล่าวตรงกับแบรนด์ตัวเองที่แสดงออกหรือไม่ หรือทำแล้วมันฝืนตัวตนของแบรนด์เกินไปก็ไม่ควรทำ

Screen-Shot-2559-09-09-at-8.51.07-PM

3. เข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายชอบอะไร มองหาอะไรแล้วเลียนแบบขึ้นมา : ในทุกวันนี้เทคโนโลยีต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายอย่างมาก เด็กรุ่นใหม่ ๆ ที่เติบโตมากับเทคโนโลยีเหล่านี้ต่างมีแรงบันดาลใจจากออนไลน์ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการชื่นชมคนในออนไลน์ หรือติดตาม Influencer ใน Platform ต่าง ๆ พร้อมอยากจะทำตามสิ่งที่ Influenceer เหล่านี้แนะนำ

แบรนด์เองนั้นต้องไปทำความเข้าใจว่า ทำไมกลุ่มคนที่แบรนด์สนใจเหล่านั้น ถึงมีความชอบในด้านต่าง ๆ หรือกำลังมองหาอะไรจาก Platform หรือคนที่ตัวเองไปติดตาม ซึ่งแบรนด์เองก็สามารถเอาแก่นหรือ insight นั้นมาพัฒนาแบรนด์ตัวเองได้ หรือง่ายสุดก็คือการทำงานร่วมกับ Influencer นั้น ๆ ขึ้นมา

ทั้งนี้บทสรุปสิ่งที่เกิดขึ้นจากบทเรียนการเสื่อมถอยของการนับถือศาสนาก็คือ การที่ศาสนาไม่สามารถปรับตัวได้กับความเชื่อและสิ่งที่เปลี่ยนไปของสังคมในคนที่เกิดมาพร้อมเทคโนโลยีนี้ สิ่งที่นักการตลาดต้องทำให้ได้คือการปรับตัวและหาทางว่าจะเชื่อมต่อตัวเองไปหาผู้บริโภคที่ตัวเองต้องการได้อย่างไรขึ้นมา


  • 25
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ