5 บทเรียนจาก Ikea ที่ทำให้การตลาดได้ผล

  • 25
  •  
  •  
  •  
  •  

มีใครที่ชอบไปเดินที่ IKEA บ้างผู้เขียนนี้เป็นคนหนึ่งที่ชอบไปเดินและทานอาหารที่ IKEA มากซึ่งการที่ IKEA ทำให้คนพูดถึงเข้าไปถ่ายรูปเลือกซื้อสินค้าและทานอาหารนั้นต้องเกิดจากการวางแผนและการทำการตลาดที่มีความละเอียดเข้าใจจิตวิทยาคนที่จะมาเดินซื้อของที่ IKEA เป็นอย่างดีเพื่อที่จะทำให้สุดท้ายแล้วคนที่มาเดินนั้นจะจ่ายเงินและกลับมาใหม่ๆอีกรอบได้ 

การทำการตลาดของ IKEA นั้นมีการบรรจงใส่จิตวิทยาและการกระตุ้นของพฤติกรรมคนเข้าไปหลากหลายรูปแบบมากเพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าสินค้าและแบรนด์จะเข้าไปอยู่ในจิตใจของผู้บริโภคขึ้นมาได้ซึ่งจากการสำรวจเรื่อง Brand Recall นั้น IKEA นั้นมาเป็นที่หนึ่งในการที่ทำให้คนจดจำแบรนด์ได้ในหมวดเฟอร์นิเจอร์ซึ่งในบทความนี้จะพาทุกคนไปเรียนรู้บทเรียน 5 ข้อที่ IKEA ใช้ในการทำแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จทางการตลาดขึ้นมาได้ 

1. ใช้ Influencer ให้ถูกต้องซึ่งการตลาดผ่าน Influencer นั้นมีอัตราการเติบโตอย่างมหาศาลอย่างมากและทุกๆแบรนด์นั้นใช้ในการที่จะโปรโมทสินค้าหรือทำให้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนติดตามของ Influencer นั้นรู้จักและมาซื้อสินค้าตามคำแนะนำของ Influencer อีกด้วยการใช้ Influencer นี้ทำให้แบรนด์ได้รับภาพลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความจริงและความน่าเชื่อถือของแบรนด์ขึ้นมาสิ่งที่ IKEA ทำคือการใช้ Influencer เช่นกันในการโปรโมทเพื่อเปิดตัวห้างในตลาดใหม่ๆขึ้นมาแต่สิ่งที่ IKEA ทำได้ดีกว่าคือการเข้าไปจับกลุ่ม Niche Influencer ของตัวเองและให้การสนับสนุนกลุ่มที่สนใจ IKEA หรือเฟอร์นิเจอร์อยุ่แล้วโดยผลที่ได้รับกลับมานั้นคือการที่ Influencers หรือ Content Creators เหล่านี้สร้าง Content ของตัวเองในการแนะนำ IKEA ออกมาโดย IKEA ไม่ได้ใช้การลงทุนที่สูงเลยเพียงแต่หาคนของตัวเองให้เจอ

2. ให้ลูกค้ามีส่วนร่วมหลักการนี้เป็นหลักการทางจิตวิทยาที่มีชื่อเรียกเลยว่า IKEA Effect ด้วยการทดลองในปี 2012 ที่ให้คนที่ต่อสินค้าของ IKEA ตีมูลค่าของสินค้าตัวเองเทียบกับสินค้าสำเร็จรูปอยู่แล้วพบว่าคนที่ต่อสินค้าเองยินยอมที่จะจ่ายมากกว่าเพราะมีคุณค่าทางจิตใจและแรงได้ที่ได้ลงไปซึ่งหลักการนี้เอามาปรับใช้กับการที่ IKEA ทำ Co-Creation สินค้าต่างๆที่ให้คนนั้นได้ลงแรงในการซื้อสินค้าขนส่งและประกอบสินค้าเองขึ้นมาสร้างความภูมิใจในการประกอบสำเร็จเหมือนการต่อจิ๊กซอร์จนถึงขั้นถ่ายรูปความสำเร็จในการประกอบเฟอร์นิเจอร์ด้วยก็มีด้วยการใช้ Co-Creation นี้ IKEA สามารถสร้างจิตวิทยาที่ประทับความทรงจำในเชิงบวกให้กับกลุ่มเป้าหมายของตัวเองได้และกลายเป็นสายสัมพันธ์ของแบรนด์กับ IKEA ขึ้นมาได้อย่างดี

3. แก้ปัญหาผู้บริโภคด้วยการนำเสนอโดยไม่ต้องขายหลายๆคนนั้นคงมีปัญหาว่าจะจัดบ้านอย่างไรหรือจะซื้อเฟอร์นิเจอร์แบบไหนที่จะเข้ากับพื้นที่บ้านดีด้วยความเข้าใจความกังวลและปัญหาของผู้บริโภคที่กำลังมีบ้านหรือย้ายที่อยู่อาศัยใหม่ตกแต่งบ้านใหม่ทาง IKEA มีสินค้าที่เข้ากับความต้องการหลากหลายรูปแบบและจัดเข้ากับการตกแต่งหรือพื้นที่บ้านของคุณได้เลยด้วยการมีสายวัดที่ให้คุณวัดได้ทันทีทำให้คุณไม่ต้องรอสินค้าที่จะต้องผลิตแต่ขนกลับบ้านเพื่อประกอบได้เลยนอกจากนี้ยังคลายความกังวลของครอบครัวด้วยการมีที่เล่นของเด็กเพื่อให้พ่อแม่เอาลูกมาฝากแล้วตัวเองสามารถไปเดินในร้านโดยไม่ต้องกังวลได้อย่างดีพร้อมยังว่าง Customer Journey Experience เอาไว้วางต้องเดินอย่างไรและเห็นอะไรหรือถ้าเดินแล้วหมดแรงหิวก็มีห้องอาหารในระหว่างทางบริการได้เลยทั้งหมดนี้คือกาารคิดมาแล้วว่าจะให้ผู้บริโภคมีประสบการณ์ที่ดีที่สุดอย่างไร

4. ให้ผู้บริโภคได้รางวัลก่อนการซื้อรางวัลในที่นี้ไม่ใช่รางวัลที่ได้ออกมาแต่เป็นรางวัลทางจิตใจที่ทำให้ผู้บริโภคเกิดนิสัยขึ้นมาได้กระบวนทางจิตวิทยานี้คือการให้รางวัลที่ทำให้สมองหนั้นมีความสุขขึ้นมาจากการทำอะไรบางอย่างซึ่งใน IKEA นั้นคนเดินในระยะเวลาที่ยาวนานมากและ IKEA ใช้ Senory Marketing ในการทำให้คนสัมผัสการออกแบบห้างหรือทางเดินที่ให้คนได้มีความตื่นตาตื่นใจในการนำเสนอจนมีความสุขในการเดินขึ้นมาได้ทำให้เกิดการให้รางวัลหรือรู้สึกว่าอยากกลับมาเดินอีกได้บ่อยๆเพราะการทำให้สมองรู้สึกถึงความสุขเมื่อคิดถึง IKEA เลยทีเดียวซึ่งจากหลักการทางจิตวิทยานี้การทำให้เกิด Sensory Marketing นั้นเป็นการกระตุ้นสมองจิตใต้สำนึกให้ทำงานและกระตุ้นให้ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะชอบหรือซื้อสินค้าได้โดยไม่ต้องใช้เหตุผล 

5. แน่วแน่ในกลยุทธ์ของตัวเองสิ่งที่ IKEA ทำคือการแน่วแน่ในการทำกลยุทธ์ของเฟอร์นิเจอร์ของตัวเองขึ้นมาซึ่งแตกต่างจากแบรนด์เฟอร์นิเจอร์อื่นๆอย่างมากไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่มีคุณภาพราคาไม่แพงสร้างความสนุกความเพลิดเพลินในการซื้อสินค้าและอย่าลืมการวางแผนประสบการณ์ของลูกค้าตัวเองขึ้นมา 


  • 25
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ