4 เหตุผลว่าทำไม Content Strategy คุณถึงไปไม่รอด

  • 1.4K
  •  
  •  
  •  
  •  

การทำ Content นั้นกลายเป็นสิ่งที่ทุก ๆ นักการตลาดอยากทำกัน เพราะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากผู้บริโภคนั้นเข้าถึงแบรนด์ผ่าน Content ในรูปแบบต่าง ๆ เป็นส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นจาก social media, Website หรือแม้กระทั่งการดูวิดีโอต่าง ๆ ทำให้การสร้างสรรค์ Content นั้นมีความสำคัญที่จะต้องหาทางเชื่อมให้ถึงผู้บริโภค ทั้งนี้เพื่อที่จะไปให้ถึงจุดหมายปลายทางนั้นได้การวางกลยุทธ์การทำ Content นั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญขึ้นมา

Screen Shot 2560-10-14 at 08.58.34

Content Strategy เป็นการวางแนวทางของ Content ที่จะเดินไป แต่หลาย ๆ ครั้งวาง Content Strategy มาอย่างดิบดี Execution ก็ถูกต้อง ปรากฏว่าการทำงานนั้นไม่ได้ผลหรือ Content นั้นไม่ได้ประสิทธิภาพที่ดีขึ้นมา  หรือแย่กว่านั้นคืองานไม่สามารถออกมาสู่สายตาผู้บริโภคได้เพราะด้วยหลาย ๆ เหตุผลก็ตาม ซึ่งวันนี้เราจะมาดู 4 เหตุผลที่ทำให้ Content Strategy ของคุณนั้นไปไม่ถึงฝันกัน และจะแก้ไขอย่างไรเพื่อให้ได้งาน Content ที่ดีออกมา

1. ไม่มีใครเอาด้วย

ปัญหาสำคัญคืออยากจะทำ แต่ไม่มีใครเอาด้วย ทำให้ไม่ว่าจะคิดอะไรออกมาก็มีคนขัด Strategy ต่างออกไปหมด แม้จะถูกใจคนกลุ่มหนึ่ง ก็จะมีคนอีกกลุ่มไม่ถูกใจด้วย ซึ่งทำให้งานนั้นไม่สามารถทำออกมาได้สักทีและแน่นอนนี้ทำให้การทำ Content Strategy ยังพังไปด้วยตั้งแต่ยังไม่เริ่มทำงานกันเลย แล้วทำอย่างไรที่จะเอาชนะใจคนที่ต้องมาทำงานนี้ด้วยเพื่อให้ซื้อการวาง Strategy ของคุณกัน คำตอบนี้ทาง Content Marketing Institute ได้สร้างแนวทางที่ดีเพื่อให้เราไปใช้งานกัน โดยสร้าง checklist ดังนี้คือ 1. ทำความเข้าใจในเรื่องการทำ Content ของตัวเองให้เป็นอย่างดี 2. ทำความเข้าใจเรื่องกลุ่มเป้าหมายและแนวของ Content ที่จะเข้าไปจับกลุ่มเป้าหมายให้เข้ามาซื้อสินค้าได้ 3. ต้องรู้ว่าเป้าหมายทางธุรกิจและเป้าหมายทางการตลาดตัวเองจะอยู่ที่ไหนใน Content 4. เข้าใจว่าคู่แข่งกำลังทำอะไรใน Content และเราจะเหนือกว่าอย่างไร 5. งบประมาณและทรัพยากรที่ต้องใช้ 6.  กระบวนการทำงานที่ต้องให้แน่ชัด

Checklist2016_AhaMediaEdits-600x776

2. ไม่มี Content Editor-in-Chief

หลาย ๆ ครั้งในหลายบริษัทก็ทำ Content กันไป ต่างคนต่างทำ โดยมีหน้าที่ที่รู้ว่าต้องทำ Content แต่ผลที่ได้นั้นกลับเสียหายอย่างมาก เพราะ Content ที่ต่างคนต่างทำออกมานั้นไม่ได้เชื่อมโยงกันเลย หรือเลวร้ายกว่านั้นเนื้อหาก็ขัดกันเอง แถมไม่ได้สอดประสานเพื่อที่จะพูดเรื่องเดียวกันให้แข็งแกร่ง ทั้งนี้สิ่งที่เกิดขึ้นคือ การไม่มีบรรณาธิการในด้านการดูเนื้อหาทั้งหมดที่ทำออกมา และคอยดูว่างานแต่ละชิ้นที่ทำออกมามันจะทำหน้าที่อะไรบ้าง และจะเอาเนื้อหาที่ทำในช่องทางหนึ่ง ไปใช้ในอีกช่องทางอย่างไร ที่สำคัญคือคนทำงานนี้ต้องเป็นคนที่ลงเวลาเต็ม ๆ กับเนื้องาน ไม่ใช่แค่แบ่งเวลามาดูแลเท่านั้นอีกด้วย เมื่อคุณมีบรรณาธิการแล้ว การสร้าง Content Strategy ของคุณจะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างมาก เพราะจะมีคนที่คอยควบคุมคุณภาพงานและการดูแลเนื้อหาต่าง ๆ ว่าสอดคล้องกับกลยุทธ์และยุทธวิธีที่วางเอาไว้ไหม รวมทั้งให้ความเห็นเมื่องานนั้นเริ่มออกนอกทิศทางไปได้ด้วย

3. ไร้การมีส่วนร่วม

หลาย ๆ ครั้งการทำงานเป็นทีม แต่การทำงานของทีมนั้นไม่ได้ผลหรือไม่ได้งานที่ดีมาพอ เพราะกลายเป็นว่าคนทำงานในทีมนั้นไม่ได้มีอำนาจในการออกเสียงหรือให้ความคิดเห็นต่าง ๆ เลย แต่ต้องทำตามคำสั่งจากหัวหน้าเท่านั้น ทำให้งานนั้นคนทำไม่ได้พูด คนพูดไม่ได้ทำขึ้นมา จนทำให้สิ่งที่ทำไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงที่มีอยู่ ทางแก้ไขที่ดีคือการให้อำนาจและการมีส่วนร่วมของทีมในการตัดสินใจว่าอะไรควรทำและอะไรไม่ควรทำขึ้นมา เพื่อให้ได้งานที่มีส่วนร่วมของทุกคน นอกจากนี้การให้การมีส่วนร่วมนั้นยังมีข้อดีคือ เมื่อคนในทีมมีส่วนร่วมกับงานนั้น จะทำให้ตัวเองรู้สึกว่าเป็นเจ้าของงาน และจะมีความรู้สึกรักและลงมือ ลงแรง เพื่อให้งานนั้นดีขึ้นมาด้วย

4.ไม่ยืนยันในสิ่งที่ถูกต้อง

ในการทำงาน Content Strategy หลาย ๆ ครั้ง สิ่งที่เจอคือการที่ Content Strategy นั้นไม่ถูกใจหลาย ๆ คน แม้ว่าจะมาถูกทาง หรือยอมยืนหยัดในการพูดและเล่าสิ่งที่ถูกต้องใน Content นั้น ๆ สิ่งที่คุณควรทำคือยืนยันในสิ่งที่ถูกต้องแม้จะไม่ถูกใจหลาย ๆ คนในนั้นหรือคนอ่านเองก็ตาม แต่หลังจากนั้นมันจะยืนยันในตัวตนคุณได้อย่างแน่นอน  The Content Strategist ได้ให้ความเห็นเรื่องนี้ในความจริงแล้วคนส่วนใหญ่จะลืมเรื่องที่เกิดขึ้นมาภายใน 2 สัปดาห์ แต่ถ้าความเห็นและเนื้อหาของคุณนั้นมันเป็นจริงหรือยืนยันในสิ่งที่คิดในอนาคตขึ้นมา สิ่งที่คุณทำออกมานั้นจะย้อนมาสร้างผลกระทบในทางที่ดีกับคุณอย่างมาก และให้ผลตอบแทนที่ดีออมาในอนาคต

 


  • 1.4K
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ