มารู้จักวิธีทำ Storytelling ที่เรียกว่า SCQA storytelling Method กัน

  • 291
  •  
  •  
  •  
  •  

กระบวนการทำ Content Marketing สิ่งหนึ่งที่สำคัญอย่างมากคือการที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวเหล่านั้นให้เกิดผลตามที่ต้องการทางการตลาดได้ ซึ่งวิธีการที่นักการตลาดตอนนี้ใช้กันเป็นส่วนใหญ่คือการใช้ Storytelling ในการเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ออกมา ด้วยกระบวนการ Storytelling นี้ทำให้กลุ่มเป้าหมายที่ได้สารไปจะมีผลทางสมองในรูปแบบต่าง ๆ ขึ้นมา และกลายเป็นความทรงจำอยู่ในสมองของตัวเองได้ด้วย โดยกระบวนการ Storytelling นั้นมีอยู่ด้วยหลากหลายรูปแบบในการทำขึ้นหรือหลากหลายทฤษฎีในการเลือกใช้ซึ่งวันนี้เราจะมารู้จักกับวิธีการที่เรียกว่า SCQA Storytelling Method กัน

minto-SCQA

ก่อนอื่นเลยต้องมาเข้าใจวิธีการประมวลผลข้อมูลของมนุษย์กัน คนส่วนใหญ่นั้นประมวลข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นเรื่องราวไม่ว่าจะเป็นการเขียน วิดีโอ หรือการพูดนั้น สมองของมนุษย์จะทำการเข้าใจว่าแต่ละชิ้นส่วนของข้อมูลนั้นเกี่ยวข้องกับข้อมูลชิ้นต่อมาอย่างไร ดังนั้นเมื่อคุณต้องนำเสนอข้อมูลให้กลับกลุ่มเป้าหมาย สิ่งที่กลุ่มเป้าหมายจะทำคือการหาเหตุผลเชื่อมโยงกันของเรื่องราวที่คุณกำลังนำเสนออยู่นั้นเอง ตัวอย่างเช่น อันนี้น่าจะเป็นเหตุผลของเรื่องราว หรือเหตุการณ์นี้คือจุดเริ่มต้นว่าทำไมต้องเกิดสิ่งต่าง ๆ ตามมา (Pros & Cons) ซึ่งกระบวนการดังกล่าวในสมองของผู้บริโภคนั้นสามารถเกิดขึ้นอย่างภาวะที่รู้สึกตัวหรือภาวะไร้สำนึกก็ได้ ถ้าเกิดกระบวนการนี้เกิดขึ้นในกลุ่มเป้าหมายและเรื่องราวของคุณไม่ได้ถูกเรียงลำดับทางเหตุผลที่ดีมากพอ จะทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดปัญหาหลัก ๆ 2 ประการคือ

1. กลุ่มเป้าหมายจะทำการตีความเรื่องราวของคุณนั้นผิดไป จนทำให้ไม่สามารถเข้าใจเรื่องราวของคุณที่กำลังนำเสนอได้ขึ้นมา ซึ่งอาจจะเกิดจากการที่สมาธิหลุดจากความสนใจของเรื่องราว หรือตีความเรื่องราวนั้นผิดไป

2. ถ้ากลุ่มเป้าหมายนั้นตีความเรื่องราวที่คุณกำลังนำเสนอได้ถูกต้องเองก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นคือกลุ่มเป้าหมายนั้นต้องประมวลผลเรื่องราวที่ฟังมาอย่างหนักมาก แล้วด้วยการที่ต้องใช้กำลังในการประมวลผลเรื่องราวเพื่อทำความเข้าใจนี้เอง สิ่งที่ตามมาคือจะสามารถเสียความสนใจในการฟังได้ง่ายอย่างมากจนหยุดที่จะสนใจคุณไปเลย

ดังนั้นเพื่อที่จะช่วยให้นักการตลาดที่ต้องทำ Content Marketing โดยการใข้ Storytelling นี้ในการทำการตลาดการสร้างโครงสร้างของการเล่าเรื่องที่ถูกต้องจะช่วยให้กลุ่มเป้าหมายประหยัดแรงอย่างมากในการทำความเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ และยังทำให้รับสารที่ต้องการจะถ่ายทอดได้ถูกต้องอีกด้วย ซึ่งโครงสร้างการเล่าเรื่องนี้เองนักการตลาดสามารถใช้วิธีที่เรียกว่า SCQA Storytelling Method ได้ โดยวิธีการนี้นำเสนออยู่ใน The Minto Pyramid Principle โดยประกอบด้วยการสร้างโครงสร้าง Storytelling Method 4 ขั้นตอนดังนี้

Screen Shot 2561-10-29 at 17.48.32

1. S = Situation : ในขั้นนี้เรียกได้ว่า เรื่องราวนั้นกำลังอยู่จุดไหน สิ่งหนึ่งที่คนเล่าเรื่องควรจะทำนั้นคือการเริ่มเรื่องราวในสิ่งที่ผู้ฟังหรือผู้รับสารนั้นรู้ข้อมูลอยู่แล้ว หรือมีความรู้อยู่ สิ่งนี้จะช่วยสร้างเหตุผลเชื่อมโยงในสมองของผู้ฟัง และสร้างความสนใจให้กับผู้ฟังอีกด้วย ทำให้คุณสามารถจะนำเสนอเข้าสู่ขั้นถัดไปได้

2. C = Complecation : จากในขั้นแรกที่เล่าเรื่องที่ผู้ฟังคุ้นชินไป สิ่งที่เกิดขึ้นในใจผู้บริโภคจะรู้สึกว่ามาเล่าสิ่งที่รู้ทำไม ดังนั้นคุณได้ความสนใจมาแล้ว สิ่งต่อมาคือการที่คุณจะเริ่มนำเสนอสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายนั้นไม่รู้ ว่าเกิดอะไรขึ้นตามมา โดยสถานการณ์ที่เล่านั้นเปลี่ยนแปลงไป มีจุดขัดแย้งเพิ่มขึ้นมา ทำให้ผู้ฟังจะเริ่มคิดตามในเรื่องราวที่เป็นจุดหักเหนี้

3. Q = Question : เมื่อเข้าจุดหักเห สิ่งที่เกิดขึ้นในหัวของกลุ่มเป้าหมายจะเกิดการตั้งคำถามทันทีต่อมาว่าจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจะทำอย่างไรเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้นหรือจะหาทางออกจากจุดหักเหนั้นอย่างไรดี และทางเลือกที่จัดสินใจมานั้นถูกหรือไม่ถูกอีกด้วยจะมีผลตามมาอย่างไร

4. A = Answer : สุดท้ายของขั้นคือการเข้าสู่บทสรุปว่า ทั้งหลายทั้งปวงนั้น เรื่องราวที่กำลังท่ายทอดนั้นได้คำตอบในการแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างไร ซึ่งคำตอบนี้ควรจะเป็นคำตอบของประเด็นเรื่องราวที่กำลังถ่ายทอดออกมา โดยวิธีการที่ดีคือการสรุปเรื่องราวทั้งหมดขึ้นมาก่อนอีกรอบ และแนะนำประเด็นที่เกิดขึ้น และเล่าเรื่องราวในการแก้ไขทีละจุดออกมา

Screen Shot 2561-10-29 at 17.51.40

หลักการ SCQA Storytelling Method นี้เป็นวิธีการแบบหนึ่งที่นิยมใช้กันมากนอกจากการทำ Storytelling แล้วก็ยังสามารถเอาไปประยุกต์ใช้กับการนำเสนออย่างอื่นได้อย่างมากมาย เช่นการทำ Pitch หรือ Presentation ต่าง จนถึงการนำเสนอเรื่องเล่าให้คนอื่นได้ฟังนั้นเอง


  • 291
  •  
  •  
  •  
  •  
Molek
Head of Strategic Marketing ใน Integrated Service Agency ที่หนึ่ง ผู้หลงใหลในหลาย ๆ ที่มีความอยากรู้และเรียนรู้ในเรื่อง Startup, นวัตกรรม, การตลาด จากมุมมองหลาย ๆ ด้านและวัฒนธรรมของแบรนด์ต่าง ๆ