การสื่อสารในยุคนี้ที่เปลี่ยนไปอย่างมาก ด้วยการที่สัคมนั้นถูกเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาพัฒนาทำให้การสื่อสารนั้นรวดเร็วขึ้นอย่างมากมาย สิ่งที่ตามมากับความรวดเร็วนี้คือการที่ผู้บริโภคมีพฤติกรรมที่ปรับเปลี่ยนไปตามเทคโนโลยีด้วย จากที่ผู้บริโภคสามารถประมวลการสื่อสารได้ปกติ ในตอนนี้ผู้บริโภครุ่นใหม่ ๆ สามารถประมวลผลสื่อต่าง ๆ ได้เร็วกว่าในอดีตมาก ทำให้การทำการตลาดนั้นต้องมีความเข้าใจในการเข้าถึงผู้บริโภคอย่างมากในการที่จะมาให้เลือกแบรนด์ของนักการตลาดเอง
การที่ผู้บริโภคจะเลือกแบรนด์ใด แบรนด์หนึ่งนั้น ในปัจจุบันนี้นักการตลาดรู้แล้วว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่นั้นตัดสินใจจากอารมณ์ ดังนั้นการเข้าใจอารมณ์ผู้บริโภคว่าจะเลือกแบรนด์อะไรนั้นเป็นความท้าทายที่สำคัญของนักการตลาดอย่างมาก ซึ่งในตอนนี้การที่มีข้อมูลที่บ่งชี้ว่าผู้บริโภคจะเลือกแบรนด์ที่ตรงกับความเชื่อตัวเอง และสามารถสร้างสัมพันธ์จนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้บริโภคได้ ไม่ใช่แค่เฉพาะ functional benefits แต่เป็น Emotional benefits ขึ้นมา ซึ่งทำให้การทำแบรนด์ในตอนนี้สำคัญมากกว่าในอดีตอย่างมากในการที่จะสร้างความหมายของแบรนด์ไปสู่ใจผู้บริโภค ดังนั้นนี้คือ 5 เหตุผลว่าทำไมคุณต้องทำแบรนด์ที่มีความหมายต่อผู้บริโภค
1. การแข่งขันที่รุนแรง
ในตอนนี้ตลาดแบบ Local นั้นไม่มีอย่างสิ้นเชิง เพราะด้วยการที่มีอินเทอร์เนต และ logistics ที่ดี รวมทั้งการเข้ามาของ e-Commerce ต่าง ๆ ทำให้ global เชื่อมเข้าสู่ local ได้อย่างง่ายดาย ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกอย่างมากว่าจะซื้อของอีกซีกโลกหนึ่งแทนที่จะเป็นข้างบ้านได้ด้วยปลายนิ้วมือของตัวเอง แถมจะซื้อที่ไหน ซื้อเมื่อไหร่ ตอนไหนก็ยังได้
ดังนั้นเมื่อการที่ไม่มีตลาด local อีกต่อไป สิ่งที่จะทำให้ผู้บริโภคมาเลือกแบรนด์คุณได้ คือการสร้างแบรนด์นั้นเอง ว่าจะเป็นแบรนด์ที่มี Perception อย่างไรต่อมุมมองผู้บริโภค และทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่านี้คือแบรนด์ที่ใช่มากกว่าแบรนด์ในระดับโลกที่มีนั้นเอง
2. ผู้บริโภคอยากได้ประสบการณ์
ในตอนนี้นั้นไม่มีวิธีง่าย ๆ แล้ว ที่จะทำการให้ผู้บริโภคมีความสนใจและมาปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์คุณได้ก่อน พฤติกรรมของผู้บริโภคนั้นเปลี่ยนไปในทุกปี และเหตุผลในการซื้อและใช้บริการนั้นกลายเป็นเรื่องรองมากกว่าอารมณ์หรือประสบการณ์ในการใช้งานต่าง ๆ แบรนด์ที่สามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีย่อมครองใจผู้บริโภคได้อย่างมากขึ้นมา
ดังนั้นแบรนด์ที่ดีต้องสามารถสร้างประสบการณ์ และความหมายของแบรนด์ต่อใจผู้บริโภคได้อย่างมาก การสร้างความรู้สึกต่อแบรนด์กลายเป็นส่วนสำคัญในการสื่อสารของแบรนด์ว่าจะเป็นอะไรในสายตาของผู้บริโภคขึ้นมา
3. แบรนด์คือคน
จากการวิจัยของนักวิจัยทางการตลาด สามารถสรุปผลได้ว่า ในความเป็นจริงแล้ว แบรนด์ก็คน เช่นเดียวกัน และผู้บริโภคต่างก็มีความคาดหวังต่อแบรนด์ต่าง ๆ ไม่ต่างจากคนในครอบครัว เพื่อน และสังคมอีกด้วย ซึ่งความคาดหวังนั้นคือแบรนด์นั้นเชื่อถือได้ ไว้ใจขได้ เข้าถึงได้ ให้ความสำคัญกับตัวผู้บริโภคและเข้าใจว่าผู้บริโภคนั้นรู้สึกอย่างไร
ดังนั้นการสร้างแบรนด์ที่ดีไม่ใช่การสร้างแบรนด์ที่ทำให้แบรนด์กลายเป็นสิ่งของ หรือองค์กร ที่ไม่มีจิตใจ เพราะผู้บริโภคจะไม่ผูกผันกับแบรนด์นั้นเลย แต่เป็นการสร้างแบรนด์ที่กลายเป็นมนุษย์ที่สามารถสร้างสัมพันธ์กับคนขึ้นมาได้ เพื่อสร้างความรู้สึกในการที่จะผูกผันกันเหมือนครอบครัว เพื่อน หรือสังคม
4. Loyalty
ในตอนนี้การตลาดในต่างประเทศนั้นจะเน้นการทำการตลาดกับกลุ่มที่มีความจงรักภักดีต่อแบรนด์เป็นอย่างมาก เพราะถือว่าเป็นลูกค้าคนสำคัญของแบรนด์ที่ทำให้แบรนด์นั้นเติบโตไปได้ ดังนั้นการที่แบรนด์สามารถเปลี่ยนลูกค้าทั่ว ๆ ไปให้สามารถมาเป็นลูกค้าที่มีความจงรักภักดีต่อแบรนด์ได้นั้นกำลังมีความสำคัญขึ้นมา เพราะยิ่งคุณสามารถสร้างได้มากเท่าไหร่ ยิ่งจะทำให้เกิด community ที่ดีมากขึ้น
ดังนั้นเพื่อที่จะเปลี่ยนผู้บริโภคธรรมดาให้มาเป็นลูกค้าที่มีความจงรักภักดีได้นั้น แบรนด์ต้องสร้างสายสัมพันธ์ต่าง ๆ ที่ใช้ใจในการซื้อเป็นอย่างมาก ทำให้ผู้บริโภคเหล่านั้นรู้สึกว่าแบรนด์นั้นเห็นผู้บริโภคสำคัญและมอบประสบการณ์ที่ดี รับฟังและปฏิสัมพันธ์กลับมา
5. แบรนด์เป็นตัวแทนผู้บริโภค
อย่างที่ได้กล่าวไว้ในบทความอื่น ๆ ของผม ว่าในยุคนี้ผู้บริโภคเลือกแบรนด์ตามความเชื่อของตนหรือจะเลือกใช้แบรนด์ที่ตรงกับมุมมองต่าง ๆ ในชีวิต ดังนั้นแบรนด์นั้นจึงกลายเป็นภาพที่สะท้อนตัวตนของผู้บริโภคเช่นกันว่าเลือกแบรนด์นี้เพราะอะไร ตัวอย่างเช่น คนที่ใส่เสื้อผ้าของ Patagonnia จะมีภาพลักษณ์ที่รักธรรมชาติ
ด้วยความที่แบรนด์นั้นไม่สามารถหนีได้จากสังคม ดังนั้นการที่แบรนด์มีอิทธิพลต่อสังคมและเป็นภาพสะท้อนของผู้บริโภคออกมาว่าอัตลักษณ์ของผู้บริโภคเป็นใคร