ภูธร มาร์เก็ตติ้ง ทำอย่างไร ให้ได้ใจคนต่างจังหวัด

  • 410
  •  
  •  
  •  
  •  

shutterstock_603923954-700

อย่างที่ทราบกันว่าประชากรส่วนใหญ่ของประเทศคือ “คนต่างจังหวัด” ซึ่งมีจำนวนมากถึง 54 ล้านคน หรือคิดเป็น 84% ของประเทศ จากจำนวน 65 ล้านคน เป็นที่น่าแปลกใจว่าตอนนี้แบรนด์ต่างๆ กลับเลือกทำตลาดแบบเจาะแค่คนในเมืองหลวงเท่านั้น ในความเป็นจริง หากแบรนด์สามารถครองใจคนต่างจังหวัดได้ นั่นหมายถึงโอกาสในการขยายตลาด และกำไรก้อนโต เพราะตลาดต่างจังหวัดเป็นตลาดใหญ่ที่มีเม็ดเงินสะพัดมากกว่าปีละ 3 แสนล้านบาท

ภูธร1

ในงานสัมมนาการตลาด “ภูธร มาร์เก็ตติ้ง ล้วงลึกอินไซต์….สื่อแบบใด จับใจตลาดท้องถิ่น” ที่จัดขึ้นโดย วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เผย Insight ที่น่าสนใจ โดยระบุว่า ประชากรในภาคใต้ และภาคกลาง มียอดค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือนมากที่สุด ประมาณเดือนละ 20,000 บาท ตามมาด้วย ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณเดือนละ 15,000 บาท และสินค้าที่ดูดเงินมากที่สุดคือ อุปโภคบริโภค

ภูธร2

สำหรับแบรนด์ที่ต้องการเข้าถึงคนกลุ่มมนี้ ต้องใช้กลยุทธ์การตลาดที่แตกต่างจากคนกรุงเทพฯ ให้ควาสำคัญไลฟ์สไตล์และความชื่นชอบเป็นหลัก แบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันคือ การใช้สื่อออนไลน์ สื่อภายในร้านค้า และสื่อโทรทัศน์

1. สื่อออนไลน์

ภูธร5

ปัจจุบันคนไทยเกือบ 100% รู้จักและใช้สื่อออนไลน์ โดย Social Media ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ Facebook ช่วงเวลาที่ฮอตฮิตสุดๆ คือ 20.00-24.00 น. กิจกรรมส่วนใหญ่จะเน้นติดต่อสื่อสารกับเพื่อน อัปเดทข่าวสารประจำวัน และช้อปออนไลน์ เฉลี่ย 1-2 ครั้งต่อเดือน จะซื้อจาก Facebook และ Instagram ในสัดส่วนใกล้เคียงกัน ปัจจัยที่ทำให้เลือกซื้อสินค้าจากร้านนั้นๆ จะดูที่ความน่าเชื่อถือ การรีวิว หรือยอดไลค์

Social Media ที่ได้รับความนิยมรองลงมาคือ Line ตามมาด้วย YouTube และ Instagram ทั้งนี้ การใช้ YouTube ของคนต่างจังหวัด จะเป็นการดูรายการทีวี และละครย้อนหลัง อาทิ ละครเป็นต่อ รายการ I can see your voice และ The Mask Singer นอกจากนี้ 88% ของกลุ่มตัวอย่างมักกดข้ามโฆษณา เว้นแต่ว่าโฆษณาชิ้นนั้นตลกพวกเขาจึงจะดูต่อ ตามมาด้วยโฆษณาเศร้าหรือดราม่า โดยคนภาคใต้จะชอบโฆษณาที่มีเพลงประกอบมากที่สุด

ในส่วนของคอนเท้นต์การตลาด คนภาคกลางและภาคอีสาน ชอบการโพสต์ภาพแบบเป็นอัลบั้ม คนภาคเหนือชอบการโพสต์ภาพแบบภาพเดียว โดยคอนเท้นต์ที่คนต่างจังหวัดให้ความสนใจบนสื่อออนไลน์มากที่สุดคือ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ แต่จะให้ความสนใจกับเนื้อหาโฆษณาแฝงและดารานักร้องน้อยที่สุด

2. สื่อภายในร้านค้า

ภูธร4

จากงานวิจัยพบว่า 90% ของกลุ่มสำรวจเคยเห็นสื่อภายในร้านค้าถึง และ 86% ตัดสินใจซื้อสินค้าจากสื่อประเภทนี้ ไม่ว่าจะเป็นป้ายที่ยื่นมาจากชั้นวางสินค้า หรือป้ายตามจุดขาย เพราะอ่านง่ายและตัดสินใจซื้อได้ทันทีเมื่อยืนอยู่หน้าชั้นวาง สิ่งที่ควรมีบนป้ายคือ คุณสมบัติสินค้า โปรโมชั่นที่ชอบมากที่สุดคือ 1 แถม 1 และที่ไม่ชอบมากที่สุดคือ การกำหนดยอดขั้นต่ำในการซื้อสินค้า เพื่อแลกรับของพรีเมี่ยมต่างๆ

3. สื่อโทรทัศน์

ภูธร3

89% ของคนต่างจังหวัดดูทีวี โดยเฉพาะภาคกลางและภาคอีสาน ช่วงเวลาที่ดูทีวีมากที่สุดคือ 20.00น. – 24.00 น. เฉลี่ยใช้เวลาดูประมาณ 1-2 ชั่วโมง ที่น่าสนใจคือคนต่างจังหวัดสามารถจดจำแบรนด์สินค้าจากสื่อทีวีได้ถึง 88% ที่น่าสนใจคือ คนต่างจังหวัดจะจำโฆษณาได้จากการแฝงมากับรายการหรือซีรีย์ที่ดู

ผลสำรวจยังระบุอีกว่า ช่องที่ครองเรตติ้งมากที่สุด

อันดับ 1 คือ ช่อง one (31) ซิทคอม “เป็นต่อ” และ “รายการศึกวันดวลเพลง”
อันดับที่ 2 คือช่อง 3 รายการข่าว “เรื่องเล่าเช้านี้” และ “ข่าว 3 มิติ”
อันดับที่ 3 คือ ช่อง 7 “รายการกิ๊กดู๋ สงครามเพลง” และ “รายการปลดหนี้”

นอกจาก 3 รูปแบบที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว การตลาดแบบออฟไลน์ก็ยังจำเป็นอยู่ ทั้งป้ายบิลบอร์ด ใบปลิว สปอร์ตโฆษณาทางวิทยุ พนักงานขายตรง และบูธกิจกรรม ซึ่งทั้งหมดนี้จะตอกย้ำการจดจำแบรนด์ให้เข้าถึงผู้บริโภคให้มากขึ้น

 


  • 410
  •  
  •  
  •  
  •