เมื่อวานนี้ผมได้อ่านเจอบทความของต่างประเทศที่พูดถึง CEO Twitter ปัจจุบันอย่าง Jack Dorsey ที่ว่าขาดความรู้สึกเร่งรีบ หรือความด่วนในการทำงานที่จะทำให้บริษัทนั้นอยู่รอดต่อไปได้และเป็นกังวลต่อนักลงทุนหรือคนที่เป็นแฟน Twitter ทั้งนี้ความเร่งรีบนี้หรือความรู้สึกว่าต้องทำด่วนนี้ในภาษาอังกฤษเรื่องนี้เรียกว่า Sense of urgency ซึ่งนับว่าเป็นสกิลแบบหนึ่งที่คนทำธุรกิจ การตลาดหรือแม้กระทั่งคนทำงานด้านโฆษณาเองก็ต้องมีอย่างมาก วันนี้เราจะมารู้จักเรื่อง Sense of urgency และวิธีสร้าง Sense of urgency มันขึ้นมากัน
Sense of urgency คืออะไร จริง ๆ แล้ว Sense of urgency นั้นคือทักษะหรือการสามารถรับรู้ได้ว่าจะต้องทำอะไรเพื่อให้อยู่รอดหรือเอาชนะคู่แจ่งหรือการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้ ในภาวะที่สิ่งแวลดล้อมหรือตลาดนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งหากคนที่ไม่มี Sense of urgency หรือไม่สามารถรับรู้ว่าจะต้องอะไรที่ด่วนได้แล้ว อาจจะสามารถหลุดกระแสหรือถูกทอดทิ้งจากการทำการตลาดไปได้ ซึ่งยิ่งในยุคที่ผู้บริโภคนั้นไม่สามารถมีความอดทนในการรอ หรือต้องการอะไรที่สามารถตอบสนองได้เร็วที่สุด การมัวรอแต่คิดหรือมัวรอแต่จังหวะอาจจะไม่ได้ผล และทำให้ผู้บริโภคนั้นเลือกที่จะไปหาเจ้าที่สามารถตอบสนองได้เร็วกว่า ซึ่งนี้เองที่ทำให้ Sense of urgency นั้นมีความสำคัญอย่างมาก เพราะการแข่งขันนั้นอยู่รอบตัวเราทั้งหมด ในกลุ่มของเอเจนซี่เองในยุคนี้ Sense of urgency ยิ่งมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะไม่ใช่ยุคของปลาใหญ่กินปลาเล็ก แต่เป็นปลาที่เร็วกว่า กินปลาที่ช้ากว่า การมี Sense of urgency ในหมู่เอเจนซี่นั้นคือการรับรู้ได้ว่าลูกค้าตัวเองมีความเร่งรีบอะไรหรือเริ่มรู้สึกว่าการทำงานของเอเจนซี่นั้นมีปัญหากับลูกค้า(ลูกค้าเริ่มรู้สึกไม่พอใจอะไรบางอย่างแล้ว) แล้วจะแก้ไขเรื่องนั้นได้อย่างไร ทั้งนี้ Sense of urgency ไม่ได้เกิดขึ้นในทุกคน ยิ่งคนที่ทำตัวเป็นฟันเฟืองในองค์กร ไม่ได้เห็นสภาพแวดล้อมภายนอก หรือทำงานใกล้ชิดกับลูกค้าแบบต่าง ๆ ยิ่งรับรู้ได้ยากว่าทำไมต้องเร่งรีบหรือทำไมต้องเร่งทำ คนที่เกิด Sense of urgency นั้นคือกลุ่มคนที่ทำงานในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย เจอสิ่งที่หลากหลายและรับรู้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากรอบตัวได้อย่างดี แต่ไม่ใช่ว่า Sense of urgency นั้นจะฝึกไม่ได้หรือสร้างขึ้นไม่ได้ และการมี Sense of urgency นั้นยังสามารถทำให้งานนั้นทำได้อย่างดีขึ้นและส่งมอบตรงเวลามากขึ้นไปอีกด้ว
John Kotter ได้เขียนหนังสือชื่อ “A Sense of Urgency” ซึ่งในหนังสือนั้นได้อธิบายวิธีการสร้าง Sense of urgency ได้เป็นอย่างดี โดยแบ่งเป็น 4 Tactics ดังนี้
จากที่กล่าวมานั้นคือการสร้าง Sense of urgency ขึ้นมาอย่างง่าย ๆ ทั้งนี้ยังมีวิธีการต่าง ๆ อีกมากมายที่สามารถพัฒนาตัวเองให้มี Sense of urgency ขึ้นมาได้ หรือถ้าองค์กรไหนที่อยากให้พนักงานรู้สึกถึง Sense of urgency นั้น การสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้มีความตื่นตัวต่อเรื่องนี้ก็มีความสำคัญ ซึ่งใน Startup หรือ Tech Company ในยุคนี้ต่างเร่งสร้างวัฒนธรรม Sense of urgency กันทุกคนเพื่อให้อยู่รอดได้ในอนาคต